"หุ้นตก" ระดับ Stock Market Crash และวิกฤตเศรษฐกิจ

Admirals
20 นาที

เนื่องจากปัญหาการระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง ตลาดหุ้นทั่วโลกเปลี่ยนทิศทางไปสู่แนวโน้มขาลง จนเกิดคำถามว่า มันจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้หรือไม่ ซึ่งผลลัพธ์อาจเป็นการพังทลายของตลาดหุ้นครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า Stock Market Crash

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับตัวลงอย่างรุนแรง มูลค่ารวมของทั้งตลาดหุ้นอเมริกาหายไปมากกว่า 20% จากจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2020 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดสิ่งที่นักลงทุนเรียกว่า "ตลาดหมี" (Bear Market) ซึ่งจะผลักนักลงทุนจริงๆ ออกไปจากตลาด และเพิ่มแรงจูงใจให้กับนักเทรดที่รอจังหวะเข้า Short

ดัชนีตลาดหุ้น ของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป มีความเป็นไปได้ที่จะปรับตัวลดลงอีก เนื่องจากมาตรการป้องกันการระบาดของโคโรนาไวรัสกำลังถูกใช้อย่างเข้มข้นทั่วโลก ซึ่งมาตรการดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเบาบางลง และเพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Stock Market Crash คืออะไร : ไม่ใช่แค่ "หุ้นตก"

Stock Market Crash คือ สภาวะตลาดหุ้นล้ม โดยเป็นช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นเกิดการปรับตัวลดลงโดยฉับพลันและรุนแรง และทั่วไปมักเป็นอาการหุ้นตกโดยที่ไม่มีใครคาดคิดหรือเตรียมการมาก่อน แน่นอนว่า มันทำให้เกิดการตื่นตระหนัก (Panic) ของนักลงทุนในตลาดตามมา จะเห็นว่า Stock Market Crash ไม่ใช่แค่หุ้นตกธรรมดาทั่วไป

ความจริงยังมีหุ้นตกในลักษณะ Mini-Crash ซึ่งอาจเป็นเพียงการที่หุ้นตกอย่างรวดเร็ดและรุนแรง โดยราคาจะสามารถกลับตัวขึ้นมาอยู่ที่เดิมในระยะเวลาไม่นานมัก ซึ่งในกรณีแบบนี้มักเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิคหรือความผิดพลาดบางประการของมนุษย์ เช่น คีย์คำสั่งผิด เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้แตกต่างจากการเกิด Stock Market Crash ซึ่งจะเกิดการ "หุ้นตก" อย่างยาวนาน และใช้เวลาอย่างมากในการฟื้นคืนกลับมาที่เดิมได้

ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกรณีที่เกิดตลาดหุ้นล่มครั้งใหญ่ หรือเฉพาะที่เราเรียกมันได้ว่า Stock Market Crash เท่านั้น

Stock Market Crash และวิกฤตเศรษฐกิจ

ตามที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ประเมินไว้ มันมีความเสี่ยงและความเป็นไปได้ที่จะเกิดสภาวะหุ้นตกแบบ Stock Market Crash ในปีนี้หรือไม่ เนื่องด้วยบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบัน นักวิเคราะห์มองไกลไปถึงขนาดว่าจะเกิด Stock Market Crash ที่รุนแรงกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 เสียด้วยซ้ำ

ความจริงแล้ว เศรษฐกิจโลกเริ่มแสดงสัญญาณของการอ่อนแอทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศในโซนยุโรป การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโคโรนาไวรัสในปลายปียิ่งทำให้สถานการณ์ของเศรษฐกิจย่ำแย่ลง การระบาดดังกล่าวที่เริ่มจากเอเชีย จนลามไปถึงยุโรปและสหรัฐฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามา "เปิดแผล" และทำให้สิ่งที่เป็นความเปราะบางของแต่ละอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกค่อยๆ ถูกเปิดเผยออกมา

แม้จะมีการวางแผนเพื่อรับมือปัญหาดังกล่าวทั้งจากธนาคารกลางและรัฐบาล แต่การตัดสินใจในการควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวทำได้อย่างล่าช้า และที่เป็นปัญหามากที่สุดคือมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจที่ "มาช้ายิ่งกว่า" ตัวอย่างคือกรณีของ "โดนัลด์ ทรัมป์" ที่แม้จะมีประกาศห้ามไม่ให้มีการเดินทางจากยุโรปสู่สหรัฐฯ แต่ไม่ได้มีมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจออกมาในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

ความล่าช้าดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างมาก การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแทบจะไม่ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง และอาการหุ้นตกก็ยังคงดำเนินต่อไป

นี่เป็นเหตุการณ์ว่าทำไมนี่อาจไม่ใช่แค่ "หุ้นตก" ธรรมดาๆ แต่มีอาจมีโอกาสที่จะเป็น Stock Market Crash ที่กินระยะเวลายาวนานและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 โดยเฉพาะหากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ หรือในโซนยุโรป ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้

สิ่งที่ต้องรู้บางประการเกี่ยวกับ Stock Market Crash ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในปี 2008 ที่ดัชนีตลาดหุ้นร่วงลงอย่างรุนแรงภาย 1 วัน มูลค่าของตลาดหายไปมากกว่า 20% จากจุดสูงสุด มันจะเป็นลักษณะของการหุ้นตกที่มีแรงจูงใจมากกว่าให้นักเทรดฝั่ง Short เข้ามาเทรดในตลาด ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความผันผวนเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเทรดได้จากผู้เชี่ยวชาญ ทดลองและฝึกฝนทักษะของคุณเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรด Forex, CFDs ได้แล้วกับทาง Admirals! เปิดบัญชีของคุณได้ฟรี! และเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับการเทรดได้เพียงคลิกแบนเนอร์ด้านล่างนี้

เปิดบัญชีทดลอง

ทำไมหุ้นตก ?

หากเกิดเหตุการณ์ Stock Market Crash ในปีนี้ขึ้นมาจริงๆ สิ่งที่จะตามมาคือความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความมั่งคั่งของหลายๆ บริษัทจะลดลง โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตุ้นตกในปีนี้ก็คือ "โคโรนาไวรัส" ที่หากยังคงระบาดต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้กิจกรรมของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนักกว่าเดิม การผลิตจะหยุดชะงัก ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก การสั่งห้ามการเดินทางจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจระดับรากหญ้าได้รับผลกระทบจนไม่อาจฟื้นคืนได้ในเร็ววัน

นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตในตลาดน้ำมันและพลังงานต่างๆ โดยเฉพาะในยูโรโซน รวมทั้งความตึงเครียดเกี่ยวกับ "สงครามน้ำมัน" ระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย ที่ยังคงอยู่ในช่วงของความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบ

ข้อบาดหมางดังกล่าว ทำให้ซาอุดีอาระเบียประกาศที่จะเพิ่มกำลังการผลิตหลังจากที่รัสเซียได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตไปแล้วก่อนหน้า ความคาดหวังต่ออุปทานของน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันโลกร่วงลงมากกว่า 30% หลังจากมีการประกาศ ทำให้หุ้นพลังงานและน้ำมันของทุกประเทศทั่วโลกร่วงลงอย่างหนักเช่นกัน

สถานการณ์ความตึงเครียดเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบกับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโคโรนาไวรัส เป็นปัจจัยสำคัญที่เขย่าตลาดการเงิน ณ ขณะนี้ อย่างไรก็ตาม มันมีความเป็นไปได้ทั้งหมดและไม่มีอะไรที่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของตลาด พรุ่งนี้อาจจะมีมาตรการที่เหมาะสมและประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของไวรัส หรืออาจเป็นมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้นและนำไปสู่การล่มสลายของตลาดหุ้น หรือที่เรียกว่า Stock Market Crash ก็เป็นได้

ถ้า "หุ้นตก" หรือเกิด Stock Market Crash ควรทำอย่างไร

ตลาดหุ้นที่เกิดเป็น Market Crash ส่วนหนึ่งเป็นผลลัพธ์ของอาการตื่นตระหนก (Panic) และความกลัวของนักลงทุนในตลาดที่กำลังให้น้ำหนักว่าสถานการณ์ในช่วงนั้นอยู่ในสภาวะ "ความเสี่ยงสูง"

กลไกบางอย่างที่อาจปรากฎให้เราได้สังเกตเห็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ ก็คือ การหนีความเสี่ยงออกจากตลาดหุ้นหรือในสภาวะที่หุ้นตกหนักๆ อาจมีการขายสินทรัพย์เสี่ยง (Risky Asset) ออกมาเพื่อไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยแทน และสภาวะที่ทุกคน "ปิดโหมด" รับความเสี่ยง เราเรียกมันว่า Risk-Off

โดยปกติแล้ว นักลงทุนจะขายหุ้นหรือสินทรัพย์ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นออกไป และไปซื้อพันธบัตรหรือทองคำซึ่งเป็น Safe-Haven แทน ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คุณสามารถเทรดสินทรัพย์ดังกล่าวผ่านโบรกเกอร์ Admirals ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถเข้าเทรดได้ทั้งดัชนีหุ้น พันธบัตร ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสกุลเงินต่างๆ ได้

หากคุณมีแพลตฟอร์มที่เข้าถึงสินทรัพย์ที่หลากหลาย คุณจะได้เปรียบอย่างมากเวลาเกิดสถานการณ์ที่ทุกคนกำลัง Panic โดยอาจจะเป็นกำลังที่ทำให้นักเทรดสามารถทำเงินได้อย่างมหาศาลภายในระยะเวลาอันสั้น ด้วยวิธีง่ายๆ อย่างการขายสินทรัพย์เสี่ยงและไปถือ Safe-Haven แทน

ในส่วนของ Forex ก็สามารถใช้เทคนิคเดียวกันได้ โดยในตลาด Forex ก็จะแบ่งเป็นสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง (High Yield: ความเสี่ยงสูง) กับสกุลเงินที่เป็นหลุมหลบภัยเช่นกัน สกุลเงินประเภท High Yield อย่าง AUD, NZD โดยทั่วไปมักจะอ่อนค่าลงในสถานการณ์ที่ทุกคนกลัวความเสี่ยง หรือเป็น Risk-Off และสกุลเงินปลอดภัยอย่าง JPY, CHF จะกลับมาแข็งค่าขึ้นในสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์รุนแรงขนาดไหน หากเป็นสภาวะที่เกิด Stock Market Crash ก็อาจทำให้สกุลเงิน JPY ของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นมาอย่างมากได้

วิธีการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงที่เกิด Stock Market Crash

ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์ระยะสั้นหรือนักลงทุนระยะยาว ความผันผวนของตลาดหุ้นก็ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับทุกคน แต่ในทางกลับกัน มันก็สร้างโอกาสมากมาย

  • นักลงทุนระยะยาว จะมีโอกาสที่ดีในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตหุ้นของตัวเองด้วยหุ้นที่มีราคาถูกลงในตลาด ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสในรอบ 10 ปีเลยทีเดียวที่ตลาดเป็นขาขึ้นมาโดยตลอด นักลงทุนหลายคนรอคอยการปรับตัวลงของตลาดมาอย่างยาวนาน ดัชนีหุ้น CAC 40 ปรับตัวลงมากกว่า 23% ในขณะที่ดาวโจนส์ (Dow Jones) ร่วงมากกว่า 18% ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา หากการระบาดของโคโรนาไวรัสมีแนวโน้มที่จะลดลงหรือหายไปจากโลก กลยุทธิ์การเข้าซื้อในจังหวะที่ดัชนีหุ้นปรับตัวลงถือเป็นกลยุทธิ์ที่สามารถทำกำไรได้ดีโดยที่มีความเสี่ยงน้อย
  • นักเทรดระยะสั้น ก็สามารถอาศัยประโยชน์จากความผันผวนของตลาดในช่วงเวลาที่เกิด Stock Market Crash ได้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งเทรดขาขึ้นหรือเทรดในฝั่งขาลง แต่เทรดเดอร์ต้องระมัดระวังในการควบคุมการใช้เลเวอเรจ (Leverage) และฝึกฝนเกี่ยวกับการบริหารหน้าตัก สิ่งเหล่านี้จะทำให้การเทรดในระยะสั้นได้ผลลัพธ์ออกมาดี ทั้งนี้ เทรดเดอร์นิยมเทรดในกรอบเวลา (Timeframe) ที่มากกว่า 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง เพราะไม่ได้มีความเสี่ยงที่มากเกินไปที่เกิดจากความผันผวน เช่น อาจจะเลือกเทรด DAX40 ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง
  • กลยุทธิ์แบบผสมผสาน (Mixed Strategy) การเลือกใช้กลยุทธิ์ที่หลากหลายอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ ซึ่งแนวคิดคือการปิดจุดอ่อนของแต่ละกลยุทธิ์และช่วยลดความเสี่ยโดยรวมลงได้อีก เทรดเดอร์สามารถถือหุ้นระยะยาวไปพร้อมๆ กับการเทรดระยะสั้นเพื่อรีดกระแสเงินสดออกมาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณรับได้ว่าจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือเลือกใช้ทั้งหมดอย่างผสมผสานกันได้

คุณสามารถทดสอบกลยุทธ์ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ของคุณเพื่อทดสอบด้วยแพลตฟอร์มการซื้อขายที่เป็นที่นิยมและทันสมัยที่สุดในโลก MetaTrader ฟรี! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างและเริ่มการซื้อขายวันนี้

เปิดบัญชีฝึกเทรดฟรี!

หุ้นจะเลิกตก ถ้ามีสัญญาณการชะลอตัวของไวรัส

นักลงทุนหลายคนพยายามจะหาจังหวะเวลาที่แน่นอนว่า เมื่อไหร่ตลาดหุ้นทั่วโลกทั้ง Wall Street หรือในยุโรปจะสามารถดีดตัวกลับขึ้นมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง สิ่งที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คือประเทศจีน โดยในจีนมีมาตรการการควบคุมการระบาดของไวรัสที่เข้มข้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และการระบาดังกล่าวดูเหมือนจะค่อยๆ ชะลอตัวลงบ้างแล้ว ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นจีนค่อยปรับตัวสอดคล้องกับสถานการณ์เหล่านั้น

ส่วนในประเทศอื่นๆ การแพร่ระบาดของไวรัสยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งนักลงทุนต่างพยายามเฝ้าสังเกตสัญญาณการชะลอตัวของการระบาดดังกล่าว ซึ่งรวมถึงมาตรการในเชิงบวกต่างๆ เช่น ความช่วยเหลือจากภาคการเมืองหรือองค์กรของรัฐ อย่างเช่นกรณีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ได้มีการส่งลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หรือตัวของ โดนัลด์ ทรัมป์ เองที่บอกเป็นนัยๆ ว่า จะมีการใช้มาตรการคลังครั้งใหญ่

แต่แม้จะมีสัญญาณของความพยายามในการแก้ปัญหา แต่ปัจจัยเหล่านี้ดูเหมือนจะส่งผลต่อดัชนีตลาดหุ้นเพียงน้อยนิด เพราะยังมีปรากฏการณ์หุ้นตกเกิดขึ้นรายวัน

สิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็น คือ โคโรนาไวรัสได้ชะลอตัวลงแล้ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ หรือโซนยุโรป ซึ่งจะทำให้นักลงทุนกลับมารู้สึก "เชื่อมั่น" ในตลาดการเงินได้อีกครั้ง อันจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดหุ้นเลิกตกได้เสียที

แต่ในขณะนี้ อย่างที่เราเห็นกันก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการทั้งทางด้านการคลังและนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายลงมากแล้ว

ประวัติศาสตร์ของการเกิด Stock Market Crash

วิกฤตเศรษฐกิจ "ฟองสบู่ทิวลิป" ค.ศ. 1637

Market Crash ไม่ได้เกิดแค่ในตลาดหุ้นแบบที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันเท่านั้น ในอดีตยังมีเหตุการณ์ The Tulip Market Crash หรือ "วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป" ซึ่งถือเป็นวิกฤตฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ที่ประเทศฮอลแลนด์ ลังจากฟองสบู่เก็งกำไรในราคาดอกทิวลิปดอกไม้ที่มาจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อไม่กี่ปีก่อนและได้รับความนิยมจากชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในยุโรป

ด้วยความต้องการ "ดอกทิปลิป" ที่มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสิ่งแปลกใหม่และสวยงามในสมัยนั้น ทำให้เกิดการซื้อขายใบจองตั้งแต่ยังเป็น "หัวทิปลิป" ซึ่งก็คือสัญญาฟิวเจอร์สแบบในปัจจุบันนั่นเอง เพราะปริมาณที่มีจำกัด การมีใบจองจึงเสมือนเป็นหลักประกันให้กับผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคามาถึงจุดที่ไม่มีนักลงทุนคนใดรับซื้อต่อไปไหว ซึ่งมีบันทึกไว้ว่าราคาหัวทิปลิปยังมากกว่าเงินเดือนทั้งปีของคนทั่วๆ ไปถึง 20 เท่า สุดท้าย มันจึงเกิดเป็น "ฟองสบู่แตก" ในปี 1637

ปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันพอสมควรว่า Market Crash ของตลาดหัวทิวลิปดังกล่าว ถือเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจในระดับที่ "รุนแรงมาก" หรือเป็นเพียงความเสียหายระดับปานกลางเท่านั้น

วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 1929: Stock Market Crash 1929

หุ้นตกในปี ค.ศ. 1929 นับว่าเป็น Stock Market Crash ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็น Crash ครั้งแรกของตลาดหุ้นในยุคอุตสาหกรรม การถล่มลงของตลาดหุ้นเกิดขึ้นใน 24 ตุลาคม 1929 ต่อมาเรียกกันว่า "Black Thursday" เป็นจุดเริ่มต้นของของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) หรืออาจเรียกว่า "วิกฤตเศรษฐกิจ 1929" ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งโลก

เหตุผลที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1929 มาจากฟองสบู่ที่เกิดจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นอันมีแรงหนุนจากระบบการซื้อขายแบบใหม่ที่ใช้ระบบเครดิต หรือในปัจจุบันอาจเรียกว่า "การซื้อหุ้นด้วยมาร์จิ้น" ทำให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้มากกว่าเงินที่ตัวเองมีอย่ แน่นอนว่า เมื่อไม่มีคนมารับซื้อในราคาที่สูงเกินไป ฟองสบู่ก็ต้องแตกในที่สุด

วิกฤตน้ำมัน ปี 1973: Stock Market Crash 1973

การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 1973 มีอีกชื่อหนึ่งว่า "วิกฤตน้ำมัน ค.ศ 1973" อันเป็นจุดสิ้นสุดของเศรษฐกิจที่เติบโตมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี และเป็นช่วงที่มีการจ้างงานแบบเต็มอัตรา (Full Employment) เป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อมามาจากหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง

Stock Market Crash ในปี 1973 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเก็งกำไรในราคาสินทรัพย์ แต่เริ่มจาก การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันอย่างก้าวกระโดดจาก $3 ในเดือนตุลาคม 2516 กลายเป็น $12 ในเดือนมีนาคม 2517 ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามยมคิปปูร์ (Yom Kippur War) ระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์รบกับซีเรีย โดยมีการร่วมมือกันของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่จะไม่ส่งน้ำมันไปประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล อุปทานน้ำมันของโลกที่หายไปย่อมดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประเทศต่างๆ จำเป็นต้องใช้น้ำมันดิบในการผลิตสินค้าและบริการ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันย่อมสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจ และมันกินเวลายาวนานกว่า 5 ปี ตั้งแต่ 1973 - 1978

หลังจากนั้นอีกมีเหตุการณ์ Oil Shock รอบที่สองเกิดขึ้นในปี 1979 เนื่องมาจากมีการปฏิวัติในประเทศอิหร่าน ทำให้การส่งออกน้ำมันจากประเทศหยุดชะงักเป็นเวลา 4 เดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งจาก $17 ไปสู่ 35$ เศรษฐกิจโลกที่กำลังเปราะบางเกิดการชะลอตัวอีกครั้ง

หุ้นตก ปี 1987: "Black Monday" 1987

Stock Market Crash ในปี 1987 เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่คนจดจำได้มากที่สุด เป็นหนึ่งในวันที่เลวร้ายที่สุดในวอลล์สตรีท โดยตลาดหุ้น Dow Jones ร่วงลงกว่า 22.6% มากกว่าเหตุการณ์สมัย 1929 เกือบ 2 เท่า นอกจากนี้ ตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ตลาดหุ้นลอนดอนตกลงกว่า 26% และที่ฮ่องกงหุ้นตกถึง 46% เราเรียกเหตุการณ์ในวันนั้นว่า Black Monday

วิกฤตการณ์ปี 1978 เป็นครั้งแรกที่หุ้นตกอันเป็นมีผลส่วนหนึ่งมาจากระบบคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ซื้อขายอัตโนมัติ โดยระบบเทรดมีการสั่งขายอัตโนมัติเมื่อราคาลดลงที่ระดับๆ หนึ่ง นั่นทำให้ Stock Market Crash ในปี 1978 มีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อนๆ ในอดีต

อย่างไรก็ตาม นับว่าโชคดีที่มันเป็น Market Crash ในช่วงบริบทที่เศรษฐกิจกำลังแข็งแกร่ง ซึ่งธนาคารกลางสามารถใช้นโยบายทางการเงินเข้ามาช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เศรษฐกิจโลกจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

คุณสามารถเทรดดัชนีตลาดหุ้นได้มากกว่า 20 ดัชนีจากตลาดหุ้นทั่วโลก ที่สำคัญคือคุณสามารถเทรดได้ด้วยสเปรดที่ต่ำ แถมไม่มีคอมมิชชั่น เริ่มต้นการเทรดของคุณกับ Admirals ได้แล้ววันนี้ เปิดบัญชีฟรี!

หุ้นตก ปี 2000: Stock Market Crash 2000

หลังยุค 1990 เป็นยุคที่ตลาดหุ้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีในตลาด Nasdaq เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 เท่าภายในเวลาเพียง 2 ปี จาก 1998 จนถึงจุดสูงสุดในปี 2000 นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม"

วิกฤตเศรษฐกิจ 2008: Hamburger Crisis

วิกฤตการเงินโลกในปี 2008 เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจาก "ฟองสบู่" ในสินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เราเรียกชื่อมันเต็มๆ ว่า "วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์" (Subprime mortgage crisis) แต่บ่อยครั้งในหน้าสื่อมักจะเรียกชื่อเล่นของมันว่า "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์"

ตลาดหุ้นเริ่มเปลี่ยนตัวเองเป็น "ตลาดหมี" (Bear Market) มาตั้งแต่ปี 2007 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจค่อยๆ ส่งผล จนวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2008 ธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Lehman Brothers ประกาศล้มละลาย เป็นจุดเริ่มต้นของ Stock Market Crash ปี 2008

แต่จุดเริ่มต้นทั้งหมดเกิดจาก "ฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์" ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากความต้องการซื้อที่ถูกหนุนโดย "สินเชื่อไม่มีคุณภาพ" แก่ผู้กู้ที่ไม่มีศักยภาพที่จะชำระเงินคืนได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีตราสารที่ซับซ้อนชนิดหนึ่งชื่อว่า CDS หรือ "Credit Default Swaps" ซึ่งมันเหมือนหลักประกันว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อยแม้จะมีการผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ฟองสบู่ลูกใหญ่ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่สูงอันเนื่องมาจากการขยายตัวที่ยาวนานของเศรษฐกิจ ทำให้ต้นทุนทางการเงินของทุกคนและทุกบริษัทอยู่ในระดับตึงตัว จนเมื่อระบบรับไม่ไหวและไม่มีเม็ดเงินเข้ามารับซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่อจากผู้ขายเดิม มันจึงกลายเป็นหนึ่งในฟองสบู่ลูกใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเงิน

วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทุกๆ ส่วนของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม วิกฤตการณ์ปี 2008 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตหนี้สิ้นและการเกิด Stock Market Crash ในปี 2011 อีกด้วย เพราะรัฐบาลพยายามใช้เงินมหาศาลในการเข้าไปอุ้มธนาคารและสถาบันการเงินที่เสมือนเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจ

หุ้นตก ปี 2011: Stock Market Crash 2011

เหตุการณ์ในครั้งนี้มีความเหมือนกับกรณี Oil Shocks หรือวิกฤตน้ำมันในช่วงปี 1973 - 1979 โดย Stock Market Crash ในปี 2011 ล่าสุดนั้นไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรในราคาสินทรัพย์จนเกิดเป็นภาวะฟองสบู่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้มา เหตุการณ์ในปี 2008 ส่งผลมาถึงปี 2011 จนเกิดเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป (วิกฤตยูโรโซน)

หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ประเทศในกลุ่มที่เรียกว่า Nordics หรือยุโรปเหนือมีหนี้สาธารณะสะสมจำนวนมาก กลุ่มปรเทศนอร์ดิกเป็นกลุ่มของประเทศพัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และ ไอซ์แลนด์ แต่ระดับหนี้สินที่เต็มเพดานทำให้ความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในระดับเปราะบาง

ประกอบกับบริบททางเศรษฐกิจของประเทศยุโรป เช่น หนี้สาธารณะของประเทศกรีซในระดับวิกฤต, ประเด็น Greece Exit ที่ในตอนนั้นมีความกังวลว่าประเทศกรีซจะต้องออกจากยูโรโซน, การล้มละลายของธนาคารบางแห่งซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตปี 2008, นโยบายทางการเงินที่เริ่มเข้มงวดมากขึ้น หรือการโดน "ลดเกรด" การลงทุนในพันธบัตรของหลายๆ ประเทศ

ปัจจัยต่างๆ ข้างต้นในไปสู่ Stock Market Crash ในปี 2011 ซึ่งทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนไปอย่างหมดสิ้น

บทสรุป : จงเตรียมพร้อมกับ "วิกฤตเศรษฐกิจ" อยู่เสมอ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทั่วโลกกำลังจับตาดูตลาดหุ้นด้วยความหวาดกลัวว่ามันกำลังจะเกิดการล่มสลายครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า Stock Market Crash อีกครั้งหรือไม่ แต่เชื่อได้เลยว่า ครั้งนี้มันจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย จะมีเพียงผู้ที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้วเท่านั้นถึงจะอยู่รอดท่ามกลางวิกฤตได้อย่างสง่างาม พวกเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนความผันผวนในตลาดให้กลายมาเป็นโอกาสในการสร้างความสำเร็จกับเส้นทางของนักเทรดได้

หากคุณเลือกใช้บริการกับ Admirals คุณจะสามารถจัดการและควบคุมความเสี่ยงของคุณได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถเริ่มเทรดด้วยบัญชีทดลองโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ฝึกเทรดได้จนกว่าจะมั่นใจ เปิดบัญชีทดลองได้ที่นี่ ฟรี!

เกี่ยวกับ Admirals

Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้

คำปฏิเสธข้อเรียกร้อง (Disclaimer): เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว

TOP ARTICLES
การเทรดคืออะไร? ทำเงินได้จริงไหม มือใหม่เทรดอะไรดี
การเทรดคืออะไร ? หากยังไม่เข้าใจก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการเริ่มต้น โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้าวผัดกะเพราจานละ 60-70 บาท สถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้ที่เงินเฟ้อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากงานประจำไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และการมีรายได้มากกว่า 2 ช่องทางขึ้น...
คุณรู้จักและเข้าใจเทรดเดอร์และอาชีพเทรดเดอร์มากแค่ไหน ?
พอได้ยินคำว่า "เทรดเดอร์" หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โบกกระดาษไปมาและตะโกนเสียงดังใส่กันให้ดูวั่นวายไปหมด เทรดเดอร์เป็นอาชีพที่บางครั้ง หลายคนอาจเข้าใจผิด แม้ปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น นับตั้งแต่ที่โลกมีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนบนโลกแล้วเทรดเดอร์คือใค...
บัญชี ECN คือ ? แล้วบัญชี STP คือ ? ควรเลือกบัญชีเทรดแบบไหนดี ?
บัญชี ECN คือ ? แล้ว บัญชี STP คือ ? หรือมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บอกได้เลยว่าการเลือกเปิดบัญชีเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์มักได้ยินโบรกเกอร์แนะนำให้เปิดบัญชีหลักๆ อยู่ 2 บัญชีนี้ แต่คำถาม คือ บัญชี STP และบัญชี ECN คือ ? มีความแตกต่างกันอย่างไร และเราควรจะเลือกเปิดบัญชี STP หรือ บัญชี EC...
ดูทั้งหมด