การขายชอร์ต (Short Selling) คืออะไร
เมื่อตลาดขยับไปในทิศทางขาขึ้น แนวคิดทั่วไปที่ว่า 'ซื้อในราคาต่ำแล้วขายในราคาสูง' ก็ดูจะสมเหตุสมผลอยู่ไม่น้อย ถ้าคุณซื้อหุ้นของบริษัท 'ABC' ที่ราคา $100 แล้วขายออกไปในราคา $150 นั่นเท่ากับว่าคุณทำกำไรได้เน็ต ๆ เกือบ $50 หลังจากหักลบค่าคอมมิชชั่นหรือดอกเบี้ยออกไปแล้ว แต่ถ้าหากว่าตลาดไม่ได้ขยับไปในทิศทางขาขึ้นละ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสภาวะตลาดกลายเป็นตลาดขาลงขึ้นมา กรณีนี้แหละที่การขายชอร์ตหรือ Short Selling จะเข้ามามีบทบาทในการเทรด
หากคุณซื้อหุ้นของบริษัท 'ABC' ที่ราคา $100 แล้วมูลค่าหุ้นของมันตกลงไปเหลือ $50 คุณก็จะสูญเงินทันทีเมื่อคุณตัดสินใจขายหุ้นนั้นทิ้ง การขายชอร์ตนั้นทำให้คุณสามารถทำกำไรในตลาดหุ้นได้ไม่ว่ามูลค่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้นหรือลงก็ตาม ตราบใดที่ตลาดดำเนินไปในทิศทางที่คุณเทรด สถานะชอร์ตที่คุณเปิดไว้ก็สามารถทำกำไรให้คุณได้เช่นกัน
ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการขายชอร์ต (Short Selling) ทั้งการชอร์ตหุ้นคืออะไร, หลักการของการขายชอร์ตเป็นอย่างไร, ทำไมจึงควรขายชอร์ตด้วย CFD, จะขายชอร์ต CFD หุ้นอย่างไร, หุ้นที่เหมาะที่สุดสำหรับการขายชอร์ต และตลาดที่คุณสามารถเปิดสถานะคำสั่งขายชอร์ตได้
- การขายชอร์ต (Short Sell) คืออะไร
- หลักการพื้นฐานของการ Short Sell
- สิ่งที่นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการ Short Sell
- Short Sell และเหตุผลทางเศรษฐกิจ
- ปัญหาเกี่ยวกับ 'การกำกับดูแล' การ Short Sell
- ด้านบวกของ Short Sell
- Short Sell ได้เงินปันผลไหม?
- ขายชอร์ต Short Sell ในหุ้นอย่างไร
- วิธีขายชอร์ต ใน MT5
- วิธีขายชอร์ตใน MetaTrader Supreme Edition
- การคำนวณและการเลือกหุ้นที่จะ Short
- สูตรคำนวณการ Short Sell
- ตัวอย่างการคำนวณการ Short Sell
- สภาวะตลาดที่เหมาะสมกับการ Short Sell
- วิกฤติการเงินขึ้น
- ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบริษัท
- กำไรต่ำกว่าที่คาดการณ์
- สถิติหุ้นบางตัวที่นิยมเข้าไป Short Sell
- กลยุทธ์ Short Sell
- Short Squeeze
- Moving Average
- Self-Protection
- ทำไมจึงต้อง Short Sell ผ่านโบรกเกอร์ Admiral Markets
- บทสรุป Short Sell
การขายชอร์ต (Short Sell) คืออะไร
การขายชอร์ตหรือ Short Sell เป็นการเทรดสินทรัพย์ที่อยู่ในภาวะตลาดหมี (ขาลง) หรือในทางติดลบ แทนที่จะเทรดด้วยการซื้อในราคาต่ำแล้วขายในราคาสูง คุณกลับใช้วิธีขายในราคาสูงก่อนแล้วค่อยซื้อกลับคืนมาในราคาต่ำ ซึ่งจะสามารถทำกำไรได้จากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์นั้น
ลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างก่อนหน้าที่กล่าวถึงหุ้นของบริษัท ABC ถ้าคุณคาดว่าราคาหุ้นจะตกลง แทนที่จะเปิดสถานะเทรด 'buy/ซื้อ' ก็เปลี่ยนเป็นเปิดสถานะเทรด 'sell/ขาย' แทน โดยเปิดเทรดที่ราคา $100 และเมื่อราคาหุ้นบริษัท ABC ตกลงเหลือ $50 คุณก็จะสามารถทำกำไรได้ $50 ซึ่งเป็นส่วนต่างของราคาเปิดและราคาปิดของหุ้นนั้น ๆ นั่นเอง
ก่อนที่เราจะไปดูถึงเหตุผลว่าทำไมคุณจึงควรเลือกใช้การขายชอร์ตหุ้น หรือขายชอร์ตสินทรัพย์อื่น ๆ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายชอร์ตนั้นมีหลักการอย่างไร และจะเริ่มขายชอร์ตอย่างไร
หลักการพื้นฐานของการ Short Sell
คำถามหนึ่งที่เทรดเดอร์มือใหม่มักจะสงสัยเมื่อกล่าวถึงการขายชอร์ตก็คือ คุณจะขายสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของได้อย่างไร
สำหรับการขายชอร์ตแบบดั้งเดิมนั้น จะเริ่มจากเทรดเดอร์ไปขอยืมหุ้นส่วนหนึ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ (มักจะขอยืมจากบัญชีของโบรกเกอร์ของตน) จากนั้นก็จะทำการขายหุ้นที่ขอยืมมาในราคาตลาด
เป้าหมายของการขายชอร์ตก็คือทำการช้อนซื้อหุ้นกลับคืนมาในภายหลังเมื่อราคาหุ้นตกลงไปกว่าเดิม แล้วคืนหุ้นนั้นให้กับผู้ที่ไปขอยืมมา โดยผู้ที่ทำการขายชอร์ตก็จะได้กำไรใส่กระเป๋าซึ่งมาจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ขายไปตอนแรกกับราคาหุ้นที่ซื้อกลับคืนมานั่นเอง
สินค้าที่ขายชอร์ตได้มีอะไรบ้าง?
ที่ Admiral Markets คุณสามารถเปิดสถานะคำสั่งขายชอร์ต หรือเข้าไปเทรดในตลาดขาลงในสินทรัพย์หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งก็มีหลายสินทรัพย์ด้วยกันที่คุณสามารถทำการขายชอร์ตได้ อาทิเช่น
- Forex
- CFD สินค้าโภคภัณฑ์
- CFD ดัชนี
- CFD พันธบัตร
- CFD หุ้น
เริ่มเทรด Short Sell โดยไร้ความเสี่ยงกับบัญชีเงินจำลอง
การเทรดแบบ Short Sell นั้น แม้แต่เทรดเดอร์มืออาชีพเองก็นิยมเข้าไปฝึกฝนในระบบบัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า "Demo Account" อยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นระบบที่จำลองเงินขึ้นมาเพื่อใช้เทรด
- สามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ
- สามารถใช้เครื่องมือเทรดและสัมผัสถึงสภาพแวดล้อมแบบบัญชีจริงทุกประการ
- คำนวณกำไรขาดทุนเหมือนเงินจริงทุกประการ และคำนวณตามราคาตลาดจริงๆ
คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึง Short Sell ขั้นสูง โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบประสบการณ์การเทรดของคุณเองได้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีเงินจำลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
สิ่งที่นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการ Short Sell
มีความเป็นไปได้เหมือนกันที่บางตลาดหรือองค์กรกำกับดูแลอาจจะไม่อนุญาตให้ทำการขายชอร์ตหุ้นบางตัวหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง การจำกัดความสามารถในการขายชอร์ตนั้นมีขึ้นเพื่อคุ้มครองบริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น และป้องกันไม่ให้เกิดกรณีนักเก็งกำไรไร้จรรยาบรรณเอาไปใช้ในทางที่ผิด
มีหลายเหตุผลด้วยกันที่แสดงให้เห็นว่าควรมีการควบคุมการขายชอร์ต ซึ่งหลักๆ แล้วก็เป็นเหตุผลและปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ แต่ในที่นี้จะอธิบายมุมมองของเทรดเดอร์ที่มอง Short Sell ในด้านบวกด้วย ดังหัวข้อต่อไปนี้
- Short Sell และเหตุผลทางเศรษฐกิจ
- ปัญหาเกี่ยวกับ 'การกำกับดูแล' การ Short Sell
- ด้านบวกของ Short Sell
Short Sell และเหตุผลทางเศรษฐกิจ
เมื่อหุ้นตัวหนึ่งถูกนักเก็งกำไรทำการขายชอร์ตมากเกินไป ราคาหุ้นของบริษัทนั้นก็อาจล้มครืนไปเลยก็ได้ เพราะนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในระยะยาวอาจจะไม่มั่นใจในหุ้นตัวนั้น และตัดสินใจเทขายหุ้นนี้ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ราคาหุ้นยิ่งตกลงไปเรื่อย ๆ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังอาจส่งผลเสียต่อการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ได้ด้วย
โดยบริษัทที่เจอกรณีดังกล่าวจะเกิดความเสียหายหลายอย่าง อาทิเช่น อาจถูกปฏิเสธเงินกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท หรือคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายอาจไม่ให้สินเชื่อเนื่องจากกลัวว่าบริษัทจะไม่ชำระเงิน
ความเสี่ยงก็คือบริษัทดังกล่าวที่แม้จะไม่มีปัญหาด้านการเงินใด ๆ ก็อาจล้มละลายได้ หรืออาจต้องเจอกับมรสุมทางการเงินหรือการดำเนินธุรกิจแบบไร้ความเป็นธรรม เพียงเพราะว่าหุ้นของบริษัทดึงดูดนักเก็งกำไรจากการขายชอร์ตมากเกินไปเท่านั้นเอง
ปัญหาเกี่ยวกับ 'การกำกับดูแล' การ Short Sell
เพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการขายชอร์ตหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งให้น้อยลง องค์กรกำกับดูแลด้านตลาดการเงินจึงมีการออกกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
การคุ้มครองจากความเสี่ยงที่เกิดจากนักเก็งกำไรจากการขายชอร์ตนั้น หลัก ๆ เลยก็มาจากโบรกเกอร์หรือตัวกลางทางการเงินซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกรรมระหว่างเทรดเดอร์ซึ่งเป็นผู้กู้ยืมหลักทรัพย์ และผู้ให้ยืมซึ่งเป็นผู้ให้เทรดเดอร์กู้ยืมหลักทรัพย์ของตน ซึ่งองค์กรกำกับดูแลจะกำหนดให้โบรกเกอร์ครอบครองหลักทรัพย์ที่ให้กู้ยืมอย่างน้อย 1 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างเช่น ถ้าเทรดเดอร์ต้องการขายหุ้น Total SA จำนวน 100 หุ้น SEC อาจจะกำหนดให้โบรกเกอร์เป็นตัวกลางโดยเป็นผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 70% (คือหุ้น Total SA 70 หุ้น)
กฎข้อสองที่ออกโดยองค์กรกำกับดูแลก็คือข้อบังคับให้มีการเปิดเผยสถานะขายชอร์ตไว้ในพอร์ต เมื่อคุณทำการขายหุ้นของบริษัทใด ๆ มากกว่าสัดส่วนที่มีการกำหนดไว้ คุณจะต้องแจ้งให้องค์กรกำกับดูแลทราบและเปิดเผยข้อมูลสถานะสัญญาซื้อขายนั้น ในฝรั่งเศส AMF ได้กำหนดให้มีการขายหุ้นได้ไม่เกิน 0.5% ของเงินทุนของบริษัท ในขณะที่ SEC ของสหรัฐไม่มีข้อกำหนดในเรื่องนี้
ด้านบวกของ Short Sell
มีหลายคนที่แย้งว่าการขายชอร์ตนั้นทำให้ตลาดมีความแข็งแรงขึ้น โดยใช้ข้ออ้างต่าง ๆ ด้วยกัน อาทิเช่น
- การขายชอร์ตช่วยกำกับดูแลตลาดหุ้นได้
- การขายชอร์ตทำให้เกิดสภาพคล่องในตลาดการเงิน
- การขายชอร์ตเป็นตัวช่วยแจ้งเตือนตรวจจับการฉ้อโกง
ผู้ที่สนับสนุนการขายชอร์ตจะเน้นไปที่บทบาทของการกำกับดูแลตลาดหุ้น เมื่อราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเวลานานโดยไม่มีการสะดุดเลย อาจส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในตลาดได้ ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์นั้นสูงเกินจริง การขายชอร์ตจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดมูลค่าของสินทรัพย์ให้กลับไปอยู่ในระดับมูลค่าจริงตามที่นักเก็งกำไรได้มีการประเมินมูลค่าเอาไว้
ตัวอย่างที่จะทำให้เข้าใจในหลักการนี้มากยิ่งขึ้นก็คือความต้องการของรัฐบาลจีนที่จะให้มีการขายชอร์ตมากขึ้นในตลาดหุ้น ซึ่งมีหุ้นอยู่หลายตัวที่มีมูลค่าหุ้นสูงเกินจริง อันเนื่องมาจากขาดความโปร่งใสและการสื่อสาร มูลค่าหุ้นที่สูงเกินจริงของบริษัทเหล่านี้นั้นอาจส่งผลร้ายทั้งต่อตัวบริษัทเองและผู้ถือหุ้นในระยะยาวได้พอ ๆ กับกรณีที่มูลค่าหุ้นต่ำกว่าจริง
การขายชอร์ตยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดที่กำลังขาดสภาพคล่องได้ด้วย สภาพคล่องนั้นเป็นตัวที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนเพราะเป็นตัวรับประกันว่าพวกเขาจะสามารถขายหุ้นซ้ำได้ในเวลาที่ต้องการ จากที่ผ่าน ๆ มา การขายชอร์ตถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับองค์กรกำกับดูแลในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด
เนื่องจากการขายชอร์ตนั้นมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย ทำให้เทรดเดอร์เลือกใช้ก็ต่อเมื่อได้มีการวิเคราะห์บริษัทนั้น ๆ มาอย่างละเอียดดีแล้ว ซึ่งเทรดเดอร์ไม่ได้แค่วิเคราะห์แต่ตัวเลขทางการเงินเท่านั้น หากพบความผิดปกติในการดำเนินธุรกิจหรือตัวเลขทางการเงินขึ้นมาเมื่อไหร่ เทรดเดอร์จะก็ทำการเทขายในปริมาณมากทันที ทำให้องค์กรกำกับดูแลและองค์กรรัฐต้องเฝ้าติดตามทั้งผู้ทำการขายชอร์ตและบริษัทที่โดนขายชอร์ตด้วย ดังนั้นการขายชอร์ตจึงเป็นตัวช่วยระงับไม่ให้มีการฉ้อโกงหรือหลอกลวงเกิดขึ้นในตลาดหุ้น
อีกหนึ่งตัวอย่างที่สามารถยกมาพูดถึงได้ก็คือบริษัท Herbalife ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชกรรมที่ผลิตภัณฑ์ยามีสารตะกั่วเกินปริมาณที่กำหนดไปถึง 10 เท่า โดยจะส่งผลเสียด้านสุขภาพแก่ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้าตรวจสอบบริษัทอย่างละเอียดใด ๆ เลยหลังจากที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภค แต่หลังจากที่กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) ต่าง ๆ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวและเทขายหุ้นของบริษัทจนราคาดิ่งลงอย่างรุนแรง ก็ช่วยผลักดันให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบอย่างละเอียดและพบการทุจริตภายในบริษัทอย่างใหญ่หลวง
Short Sell ได้เงินปันผลไหม?
ผู้ขายชอร์ตจะไม่สามารถถอนเงินปันผลจากหลักทรัพย์ที่ยังเปิดสถานะสัญญาทิ้งไว้อยู่ได้
นี่อาจจะไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง แต่น่าจะเรียกว่าเป็นผลพวงจากการขายชอร์ตมากกว่า เมื่อมีการ short sale หุ้น ผู้ขายชอร์ตจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลใด ๆ เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นจริง ๆ แต่เป็นหุ้นที่ขอยืมมาจากโบรกเกอร์ต่างหาก เงินปันผลจะเป็นของผู้ให้ยืมซึ่งก็คือเจ้าของหุ้นที่แท้จริงนั่นเอง
ขายชอร์ต Short Sell ในหุ้นอย่างไร
ถือว่าเป็นโชคดีของเทรดเดอร์ที่มีโปรแกรมเทรดเสมือนจริง ซึ่งทำให้การขายชอร์ตนั้นง่ายซะยิ่งกว่าง่าย กุญแจสำคัญก็คือคุณต้องมีแพลตฟอร์มเทรดที่เหมาะสม อย่างปลั๊กอิน MetaTrader Supreme Edition สำหรับ MetaTrader 5 ก็ให้คุณสามารถเทรด CFD ทั้งหุ้นสหรัฐ, หุ้นยุโรป และหุ้นอังกฤษได้พร้อมด้วยฟีเจอร์การใช้งานแพลตฟอร์มแบบขั้นสูง
แหล่งที่มา: Admiral Markets MT5 Supreme Edition - #AAPL, รายสัปดาห์ กราฟราคาของตราสารการเงินที่ปรากฏในบทความนี้ถูกใช้เพื่อแสดงตัวอย่างและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการเทรดหรือคำชักชวนให้ซื้อหรือขายตราสารการเงินใด ๆ โดย Admiral Markets (CFD, ETF, หุ้น) ผลตอบแทนการลงทุนในอดีตไม่ใช่ตัวบ่งชี้ผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กราฟราคาข้างต้นเป็นกราฟราคาหุ้นของบริษัท Apple ซึ่งในแพลตฟอร์ม MT5 Supreme Edition นั้น เทรดเดอร์จะสามารถดูข้อมูลราคาย้อนหลังของหุ้นนี้ได้ รวมถึงยังสามารถเลือกใช้อินดิเคเตอร์สำหรับการเทรดฟรีหลากหลายตัวเพื่อช่วยในการตัดสินใจเทรด ในเวอร์ชั่นนี้ยังมี 'Mini Terminal' ซึ่งในส่วนนี้ เทรดเดอร์สามารถเลือกพารามิเตอร์สำหรับการเทรดของตนได้ด้วย
แล้วคุณจะได้เห็นว่าการใช้แพลตฟอร์มเทรด MetaTrader ในการเทรดนั้นมันง่ายแค่ไหน คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดมาใช้งานฟรีได้เลย
เมื่อจะวางสถานะคำสั่งขายชอร์ต คุณก็แค่คลิกไปที่ปุ่ม 'Sell' ซึ่งคุณสามารถใส่คำสั่งจุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไรลงไปได้ด้วย คำสั่งเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถปิดสถานะคำสั่งที่ระดับราคาที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าได้เลย ไม่ว่าจะเพื่อหยุดการขาดทุนหรือเพื่อช้อนเอากำไรก็ตาม
วิธีขายชอร์ต ใน MT5
- เปิดบัญชีทดลองหรือบัญชีเทรดจริงกับ Admiral Markets
- ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม MetaTrader 5 ฟรี
- เปิดโปรแกรม MetaTrader 5 ขึ้นมา แล้วลงชื่อเข้าใช้ด้วยรายละเอียดบัญชีทดลองหรือบัญชีเทรดจริงของคุณ
- ในหน้าต่าง 'Market Watch' ให้ดับเบิ้ลคลิกที่สินทรัพย์ที่คุณต้องการขายชอร์ต ใส่ปริมาณที่ต้องการเทรด และอาจเลือกใส่จุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไรเข้าไปได้ด้วยเช่นกัน จากนั้นให้คลิก 'Sell by Market'
วิธีขายชอร์ตใน MetaTrader Supreme Edition
- ลงชื่อเข้าใช้บัญชีเทรดของคุณ
- ในหน้าต่าง 'Navigator' ให้ขยายเมนูย่อย 'Expert Advisors' ขึ้นมา แล้วเลือก 'Admiral – Mini Terminal'
- ลาก 'Admiral – Mini Terminal' ลงไปบนกราฟของตราสารที่ต้องการเทรด
- ใส่ปริมาณที่ต้องการเทรด และสามารถเลือกใส่จุดหยุดขาดทุนแบบเลื่อนตามราคา (trailing stop), จุดหยุดขาดทุน และจุดทำกำไรได้ด้วย
- จากนั้นคลิก 'Sell'
แหล่งที่มา: AC CFD, กราฟ M5, MetaTrader 5 Supreme Edition Admiral Markets, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
แต่ก่อนที่จะทำการเทรด จะเป็นการดีกว่าถ้าคุณพอรู้ว่าหุ้นตัวไหนเหมาะกับการขายชอร์ตบ้างเสียก่อน งั้นเรามาลองดูข้อมูลต่อไปนี้กันสักนิด
การคำนวณและการเลือกหุ้นที่จะ Short
จริงๆ เราทราบอยู่แล้วว่า เราจะเลือก Short หุ้นที่จะเป็นขาลงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดพอสมควรเกี่ยวกับปัจจัยที่แวดล้อมอยู่ ซึ่งรวมถึงการคำนวณด้วย เพราะว่าการลงทุนนั้นไม่คุ้มค่าความเสี่ยง แม้กราฟจะสวย ก็อาจไม่ใช้หุ้นที่เหมาะสมกับเรา มีหัวข้อดังนี้
- สูตรคำนวณการ Short Sell
- ตัวอย่างการคำนวณการ Short Sell
สูตรคำนวณการ Short Sell
สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ของการขายชอร์ตนั้นมีหลักการง่าย ๆ คือ โบรกเกอร์ออนไลน์จะแสดงผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิบนแพลตฟอร์มเทรด ยิ่งราคาที่ซื้อหุ้นกลับคืนมาต่ำกว่าราคาที่ขายไปในตอนต้นมากเท่าไหร่ กำไรที่คุณจะได้ก็มากขึ้นเท่านั้น หรือจะให้พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นที่ขายชอร์ตไปต่ำลงมากเท่าไหร่ คุณก็จะได้กำไรกลับคืนมามากเท่านั้น
สูตรของมันก็คือ
(ราคาขาย - ราคาซื้อ) x จำนวนของสินทรัพย์ - ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม = กำไร
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายแต่ละส่วนของสูตรการขายชอร์ต
- ราคาขาย = ราคาที่เทรดเดอร์ขายหลักทรัพย์ทางการเงินออกไป
- ราคาซื้อ = ราคาที่เทรดเดอร์ซื้อหลักทรัพย์ที่ขายออกไปกลับคืนมา
- จำนวนของสินทรัพย์ = จำนวนของสินทรัพย์ที่เทรดเดอร์ขายออกไป
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม = ค่าคอมมิชชั่นที่เรียกเก็บโดยโบรกเกอร์
ถ้าผลลัพธ์ของสูตรดังกล่าวเป็นดังนี้
- ผลลัพธ์เป็นบวก: เทรดเดอร์ทำกำไรสุทธิได้
- ผลลัพธ์เป็นลบ: เทรดเดอร์ขาดทุนสุทธิ
ตัวอย่างการคำนวณการ Short Sell
ลองสมมติว่าเทรดเดอร์เปิดสถานะขายชอร์ตหุ้น 100 หุ้นของบริษัท ABC ที่ราคา $20 ต่อหุ้น หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ราคาหุ้นก็ตกลงเหลือ $10 ต่อหุ้น ทำให้เทรดเดอร์ตัดสินใจช้อนซื้อหุ้นนั้นกลับคืนมา กำไรที่เทรดเดอร์จะได้จากการเทรดจะเท่ากับ $1,000 ลบด้วยค่าคอมมิชชั่นและดอกเบี้ย
($20 - $10) x 100 = $1,000
แล้วถ้าราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่เทรดเดอร์เปิดสถานะขายชอร์ตไปละ จะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าราคาหุ้นของบริษัท ABC พุ่งสูงขึ้นเป็น $50 ต่อหุ้น และเทรดเดอร์ตัดสินใจหยุดขาดทุนด้วยการปิดสถานะช้อนซื้อที่ราคานี้ ในกรณีนี้เทรดเดอร์ก็จะขาดทุนไป $3,000 [($50 - $10) x 100] และนี่ยังไม่รวมค่าคอมมิชชั่นหรือดอกเบี้ยใด ๆ ที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการเปิดสถานะอีกด้วย
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่ามูลค่าขาดทุนนั้นมากกว่า 100% ของเงินลงทุนเสียอีก โดยเงินลงทุนขั้นต้นนั้นคือ $2,000 ($20 x 100 หุ้น) แต่ขาดทุนไปถึง $3,000 แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของการขายชอร์ต นั่นก็คือการขาดทุนแบบไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากไม่มีขีดจำกัดของราคาหุ้นจึงทำให้ในทางทฤษฎีแล้วมูลค่าการขาดทุนจากการขายชอร์ตนั้นมากแบบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่ก็มีผลิตภัณฑ์บางตัวที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการขายชอร์ตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น คุณรู้หรือไม่ว่าสามารถฝึกกลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตได้ โดยที่ไม่ต้องเอาเงินทุนของตัวเองเข้าไปเสี่ยงจริง ๆ ใช่แล้ว ด้วยบัญชีทดลองเทรดแบบไร้ความเสี่ยงของ Admiral Markets เทรดเดอร์มืออาชีพทั้งหลายสามารถเข้าไปทดสอบกลยุทธ์เทคนิคการเทรดของตนได้ รวมทั้งฝึกเทรดให้ชำนาญได้โดยไม่จำเป็นต้องเอาเงินลงทุนเข้าไปเสี่ยงจริงๆ
สภาวะตลาดที่เหมาะสมกับการ Short Sell
น่าเสียดายที่ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ แต่ก็มีบางกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าการขายชอร์ตนั้นมีประโยชน์ไม่น้อย ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างกรณี 3 กรณีที่ถือว่าเหมาะกับการขายชอร์ตหุ้นเป็นที่สุด
#1. เกิดวิกฤติการเงินขึ้น
ยังจำเหตุการณ์วิกฤติการเงินเมื่อปีพ.ศ. 2551 หรือภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ไอทีเมื่อปีพ.ศ. 2543 ได้รึเปล่า เหตุการณ์ที่ตลาดการเงินตกฮวบฮาบเช่นนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้จะไม่บ่อยนัก แต่ก็เหมือนเป็นการเตือนให้เราต้องเตรียมตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นอีก คุณจะได้รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป
#2. ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบริษัท
กรณีเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าวิกฤติการเงิน ยังจำกรณีข่าวอื้อฉาวเรื่องปลอมแปลงค่าการปล่อยมลพิษของรถยนต์ดีเซลของบริษัท Volkswagen เมื่อปีพ.ศ. 2558 ได้ไหม
กล่องสีเหลืองที่แสดงอยู่บนกราฟด้านบนแสดงแท่งกราฟราคาหุ้นแบบรายเดือนของบริษัท Volkswagen ที่ตกลงไปอย่างมากในช่วงที่มีข่าวอื้อฉาวเรื่องปลอมแปลงค่าการปล่อยมลพิษของรถยนต์ดีเซล ราคาหุ้นที่ตกลงแบบฮวบฮาบเช่นนี้มีมูลค่ามากยิ่งกว่าราคาหุ้นที่ขึ้นไปรวม 3 ปีเสียอีก ดังนั้นการที่มีแพลตฟอร์มเทรดและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเตรียมพร้อมสำหรับการขายชอร์ตในตลาดจึงมีประโยชน์อย่างมากในกรณีเช่นนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์เทคนิคการเทรดของคุณด้วย
#3. กำไรต่ำกว่าที่คาดการณ์
ในทุก ๆ ไตรมาส บริษัทมหาชนทั้งหลายจะต้องมีการเปิดเผยรายงานผลประกอบการของตนให้ทราบ ซึ่งนักวิเคราะห์ก็มักจะทำการประเมินตัวเลขกำไรต่อหุ้นและรายได้ของบริษัทนั้น ๆ ที่คาดว่าจะปรากฏในรายงาน ถ้าบริษัทดังกล่าวเปิดเผยตัวเลขออกมาแล้วต่ำกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก็จะทำให้เทรดเดอร์บางคนเทขายหุ้นที่ถือไว้ออกไป แต่เทรดเดอร์บางคนก็จะเริ่มทำการขายชอร์ตแทน และหากบริษัทนั้น ๆ เปิดเผยรายงานผลกำไรที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง ก็จะทำให้เกิดเทรนด์ขาลงของหุ้นบริษัทนั้น
กราฟตัวอย่างข้างต้นเป็นกราฟราคาหุ้นบริษัท Alcoa ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตอะลูมิเนียมรายใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก จะเห็นว่าราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นไปมากในปีพ.ศ. 2560 แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปีพ.ศ. 2561 ราคาหุ้นก็เริ่มตกลง การเตรียมพร้อมเรื่องความยืดหยุ่นในการเทรดทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลงจึงเป็นการเปิดโอกาสในการเทรดให้มากขึ้น บางครั้งเทรดเดอร์อาจจะต้องการชอร์ตตลาด มากกว่าที่จะเล่นกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งข้อดีของการขายชอร์ตด้วย CFD
สถิติหุ้นบางตัวที่นิยมเข้าไป Short Sell
ต่อไปนี้เป็นรายชื่อหุ้นสหรัฐที่ขายดีที่สุดใน Admiral Markets ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562
- Disney: 47,44%
- Apple: 14,37%
- Netflix: 10,49%
- Facebook: 10,29%
- Tesla: 5,27%
- Alibaba: 4,06%
- Twitter: 2,81%
- Microsoft: 1,85%
- Amazon: 1,51%
- Deutsche Bank: 1,46%
กลยุทธ์ Short Sell
จริงๆ โลกของการเทรดไม่ได้มีแค่การวิเคราะห์ทางเทคนิค บางกลยุทธ์เกิดขึ้นจากมุมมองในการมองตลาดผ่านความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ราคา อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถนำเสนอให้หมดได้ในบทความนี้ จึงยกมาบางหัวข้อ
- Short Squeeze
- Moving Average
- Self-Protection
Short Squeeze: อีกหนึ่งวิธีการขายชอร์ต (Short Selling)
การบีบ (squeeze) บนตลาดหุ้นนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นตกลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วหลังจากที่มีการประกาศข่าวไม่ดีเกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นเมื่อราคาทะลุระดับแนวรับหรือแนวต้านไปซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณให้ขายนั่นเอง
นักลงทุนที่มีความชำนาญมักจะหากำไรจากราคาตลาดที่ดิ่งลงเช่นนี้ด้วยการช้อนซื้อหุ้นที่ราคาตกลงในปริมาณมาก ๆ
ซึ่งจะทำให้ราคาเด้งกลับสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เทรดเดอร์ที่ขายชอร์ตต้องขาดทุนแทน กรณีนี้เกิดขึ้นจากการที่มีความต้องการซื้อเป็นจำนวนมากแต่เทรดเดอร์ที่ต้องการขายกลับไม่มีเลย เพราะทุกคนต่างก็ต้องการช้อนซื้อหุ้นกันทั้งนั้น
Volkswagen: Short Squeeze ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2551 ภาคธุรกิจยานยนต์ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งเป็นผลทางอ้อมมาจากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ทั้งกองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) และนักเก็งกำไรทั้งหลายต่างก็เล็งหุ้นที่ราคากำลังตกลงในภาคธุรกิจนี้ ซึ่งหุ้นของบริษัท Volkswagen ก็ถือเป็นหุ้นที่ตรงความต้องการมากที่สุดในขณะนั้น
ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หุ้นของบริษัท Volkswagen ตกลงไปมากกว่า 50% แต่ภายใน 2 วันทำการเทรด (วันที่ 27 ถึง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551) ราคาหุ้นกลับพุ่งสูงขึ้นจาก €200 เป็น €1000 ถือว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 400% เลยทีเดียว
การเด้งกลับของราคาอย่างรุนแรงเช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยการเข้าถือหุ้น Volkswagen ของบริษัท Porsche ที่เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 42.6% ซึ่งยังไม่รวมตราสารสิทธิที่บริษัท Porsche ครอบครองอยู่เพิ่มเติมอีก 31.5% ทำให้บริษัท Porsche ถือหุ้น Volkswagen อยู่ทั้งสิ้นถึง 74.1% ในขณะที่กองทุนรัฐเยอรมัน Lower Saxony ก็ยังเก็บหุ้นของตัวเองไว้อยู่ จึงทำให้เหลือหุ้น Volkswagen ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดเพียง 6% เท่านั้น
เมื่อนักเก็งกำไรได้ยินข่าวนี้และมองว่าราคาหุ้นจะไม่ดิ่งลงดังที่คาดไว้อย่างแน่นอน จึงรีบเข้าช้อนซื้อหุ้นกลับมาเพื่อจำกัดมูลค่าที่ขาดทุนไปให้น้อยลง แต่ในเมื่อเหลือหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดเพียงน้อยนิดเท่านั้น จึงทำให้เกิดภาวะ Short Squeeze ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ขึ้นนั่นเอง
สำหรับผู้ที่ทำการขายชอร์ตนั้น นี่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวซึ่งจะกินเวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วกรณีเช่นนี้จะไม่ส่งผลกระทบสำคัญใด ๆ กับเทรนด์ตลาดอ้างอิงเลย
เริ่มทดสอบกลยุทธ์การเทรดแบบ Short Sell ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5
คุณรู้หรือไม่? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟขั้นสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและกราฟได้ตามต้องการ อีกทั้ง โบรกเกอร์ Admiral Markets ยังได้เตรียมปลั๊กอินพิเศษสำหรับใช้งานกับ MetaTrader 5 ให้ฟรีๆ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้
- Correlation Matrix : ตรวจสอบความแข็งแกร่งของคู่เงินทั้งกระดาน!
- Trading Simulator : ทดสอบกลยุทธ์ จุดเข้า-จุดออก ย้อนหลังจากข้อมูลราคาในอดีต
- Admiral Pivot Point : ช่วยบอกแนวรับ-แนวต้าน แบบอัตโนมัติ
- Lot-size Calculator : คำนวณราคาและปริมาณการซื้อขายได้อย่างแม่นยำ
- Candle Countdown : Indicator ตัวนับเวลาแท่งเทียน ช่วยให้คุณไม่พลาดทุกการเคลื่อนไหวของตลาด
- Technical Insight™ : อัปเดตข้อมูลตลาดและการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ รวมถึงการวิเคราะห์รูปแบบ Price Action
นอกจากนี้ ยังมี Widget เสริมอีกมากมายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเทรดให้กับคุณ โดย MetaTrader 5 แพลตฟอร์มการเทรดรุ่นพิเศษนี้ คุณสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!
Short Sell on Moving Average
ตามหลักแล้ว กลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตนั้นเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นและระยะกลาง ผลกำไรที่จะได้สูงสุดนั้นจะเท่ากับราคาสินทรัพย์ ณ เวลาที่เปิดเทรด
การทำกำไรดังกล่าวได้นั้นจะต้องใช้กลยุทธ์เทคนิคการเทรด ซึ่งต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงกลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตสำหรับ CFD DAX30 รวมถึงวิธีการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคให้ประสบความสำเร็จในการขายชอร์ตหุ้นและตราสารชนิดอื่น ๆ
กลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตใน CFD DAX30
แหล่งที่มา: CFD DAX30, กราฟ M5, MT5 Admiral Markets, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตพื้นฐานสำหรับ CFD DAX30 นั้นเริ่มจากการติดตาม ปฏิทินเศรษฐกิจและอินดิเคเตอร์อารมณ์ตลาด ZEW
ดัชนีหุ้นเยอรมันมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการประกาศของดัชนี ZEW หากมูลค่าของ ZEW ที่ประกาศออกมานั้นต่ำกว่าตัวเลขที่มีการคาดการณ์ไว้โดยนักวิเคราะห์ตลาด ก็อาจคาดเดาได้ว่าราคา DAX30 น่าจะต้องตกลงอย่างแน่นอน และเริ่มทำการขายชอร์ตได้เลย
การใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการขายชอร์ต
หนึ่งในกลยุทธ์เทคนิคการขายชอร์ตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือการเปิดเทรดหลังจากที่มีการยืนยันแน่นอนแล้วว่าเกิดการพลิกกลับเป็นภาวะขาลง (bearish) บนเส้น uptrend
กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบที่สองก็คือกราฟมีรูปแบบการกลับตัวของราคาเป็นขาลง เช่น รูปแบบ shoulder-head-shoulder, ascending bevel หรือ double-top เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้มากขึ้น คุณอาจใช้ทั้งการเกิดภาวะขาลง (bearish) ร่วมกับรูปแบบกราฟกลับตัวของราคาเข้าด้วยกัน
กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบที่สามก็คือการเล่นกับระดับราคาที่แตกต่างกันด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ 50-วัน กับ 200-วัน (MM50 และ MM200)
- ถ้า MM200 > MM50 น่าจะเป็นตลาดขาลง (bearish) ซึ่งเส้น MM200 จะเป็นเส้นแนวต้าน การเปิดคำสั่งขายชอร์ตโดยใช้เส้น MM200 นั้นก็คือเข้าเก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ที่จะตกลงไปมากกว่านี้อีก
- ถ้า MM50 > MM200 น่าจะเป็นตลาดขาขึ้น (bullish) ซึ่งเส้น MM200 จะเป็นเส้นแนวรับ การเปิดคำสั่งขายชอร์ตเมื่อราคาทะลุ MM50 นั้นจะต้องรอให้ราคาทะลุลงไปถึงเส้น MM200 เสียก่อน
Short Sell & Self-Protection
การขายชอร์ตนั้นนับว่ามีความเสี่ยงอยู่มาก แต่ก็มีวิธีง่าย ๆ อยู่ 3 ข้อที่จะช่วยป้องกันตัวคุณจากความเสี่ยงดังกล่าวได้ ดังนี้
- ใส่จุดหยุดขาดทุนในคำสั่งขาย
- ใช้เครื่องมือป้องกันความผันผวนของราคา
- เลือกใช้โบรกเกอร์ที่มีนโยบายคุ้มครองวงเงินติดลบในบัญชี
การใช้จุดหยุดขาดทุนถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งเป็นตัวกำหนดล่วงหน้าสำหรับปริมาณสูงสุดที่คุณจะรับได้ในความเสี่ยงขาดทุนในการเปิดสถานะขายชอร์ต เครื่องมือนี้มีประโยชน์มากและควรหัดใช้ให้เป็นนิสัยเพื่อป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเทรด
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากความคลาดเคลื่อนในการดำเนินคำสั่ง ( slippage) และความผันผวนอย่างรุนแรงของตลาดให้น้อยลงได้ก็คือการใช้ประโยชน์จากการคุ้มครองจากความผันผวนของ Admiral Markets จุดสำคัญก็คือการดำเนินคำสั่งหยุดขาดทุนและการดำเนินคำสั่งซื้อขายทันทีแบบ Limit order (คำสั่งซื้อขายที่ระบุราคาไว้)
ทั้งนี้ Limit Order ต้องมีการกำหนดค่า slippage สูงสุดเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว การทำเช่นนี้จะทำให้เทรดเดอร์สามารถเข้าเทรดในตลาดได้ด้วยความเสี่ยงที่น้อยลงและยังทำกำไรเพิ่มเติมได้แบบไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย การกำหนดค่า slippage สูงสุดไว้ล่วงหน้าจะเริ่มตั้งแต่ 1 ถึง 1000 จุดต่อบัญชีซึ่งสามารถเข้าไปทำได้ในหน้า Account Settings ของ Admiral Markets Traders' Room
เมื่อมีการส่งคำสั่งหยุดขาดทุนหรือมีการส่งคำสั่งซื้อขายทันทีขึ้น ก็จะมีการวางคำสั่ง Limit order แทนในราคาที่จะทำกำไรได้น้อยกว่าโดยดูจากจำนวนจุดที่กำหนดไว้ก่อนหน้า การวางคำสั่ง Limit order จะอยู่ในเงื่อนไขกรณีที่มีการเปิดคำสั่งทันที โดยจะมีการดำเนินคำสั่งก็ต่อเมื่อค่า slippage ไม่ติดลบหรือเป็นศูนย์เท่านั้น ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะต้องยกเลิกคำสั่ง ดังนั้นค่า slippage สูงสุดของคำสั่งหยุดขาดทุนหรือคำสั่งซื้อขายทันทีเดิมจะถูกกำหนดจำนวนจุดเอาไว้ล่วงหน้า ในขณะที่ค่า slippage ที่เป็นบวกของ limit order ที่ได้นั้นจะไม่มีขีดจำกัด
ทำไมจึงต้อง Short Sell ผ่านโบรกเกอร์ Admiral Markets
CFD หรือ Contract for Difference (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรได้ทั้งจากตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง โดยไม่จำเป็นต้องครอบครองสินทรัพย์อ้างอิงนั้นจริง ๆ หลักการสำคัญก็คือ CFD เป็นสัญญาระหว่างสองฝ่าย ได้แก่ เทรดเดอร์และโบรกเกอร์ ในตอนท้ายของสัญญา ทั้งสองฝ่ายจะทำการแลกเปลี่ยนส่วนต่างระหว่างราคาหุ้น ณ เวลาที่ทำสัญญา กับราคาหุ้น ณ เวลาที่ปิดสัญญา
แทนที่จะไปลงทุนในหุ้นแบบดั้งเดิมที่เทรดเดอร์จะต้องจ่ายเงินส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของหุ้นหรือตราสารใด ๆ ที่กำลังเทรดอยู่ การเข้าและออกจากตลาดด้วยการเปิดปิดสถานะสัญญาด้วย CFD นั้นทำได้ง่ายดายกว่าการเทรดแบบอื่น และนี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการขายชอร์ต CFD หุ้นถึงได้รับความนิยมมาก ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่แค่เพราะสามารถเข้าและออกจากการเทรดได้ง่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีกด้วย อาทิเช่น
- เลเวอเรจ – เทรดเดอร์รายย่อยสามารถเทรดด้วยสถานะสัญญาที่มีมูลค่ามากกว่าวงเงินในบัญชีถึง 5 เท่า ส่วนเทรดเดอร์มืออาชีพสามารถเทรดด้วยสถานะสัญญาที่มีมูลค่ามากกว่าวงเงินในบัญชีถึง 20 เท่า
- เทรดในทิศทางใดก็ได้ - จะเทรด long หรือ short ในหุ้นตัวไหนก็ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการขายชอร์ต
- เครื่องมือบริหารความเสี่ยงขั้นสูง – ใช้คำสั่งหยุดขาดทุนและทำกำไรเพื่อจำกัดความเสี่ยงให้ลดน้อยลง
- เข้าถึงตลาดหุ้นได้ทั่วโลก - เทรดได้ทั้ง CFD หุ้นสหรัฐ, หุ้นยุโรป, หุ้นอังกฤษ
การเตรียมผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้พร้อมอยู่ในมือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดในตลาดโลก ที่ Admiral Markets เรามีตัวเลือกมากมายหลายตัวให้เลือกใช้สำหรับการลงทุนและการเทรดหุ้น, ETF, CFD หุ้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Invest.MT5 ที่ให้เทรดเดอร์สามารถซื้อและครอบครองหุ้นนั้น ๆ ได้ ส่วน Trade.MT4, Zero.MT4 และ Trade.MT5 เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์มืออาชีพสามารถเทรดสกุลเงิน, CFD คริปโตเคอเรนซี่, CFD หุ้น, CFD พันธบัตร ฯลฯ
ถ้าคุณอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลือกแต่ละตัวโดยละเอียด สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ ประเภทบัญชีของ Admiral Markets ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตราสารทั้งหมดที่สามารถเทรดได้ด้วยบัญชีแต่ละประเภท, เลเวอเรจที่มีให้บริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย กล่าวโดยสรุปเลยก็คือ แค่มีบัญชีเทรด CFD กับ Admiral Markets คุณก็สามารถเก็งกำไรได้จากทั้งราคาหุ้นขาขึ้นและหุ้นขาลง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการเทรดตลาดการเงินให้กับเทรดเดอร์
บทสรุป: การขายชอร์ต (Short Selling)
การขายชอร์ตสินทรัพย์ใด ๆ นั้นหมายถึงการคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะตลาดหมีหรือตลาดขาลง ซึ่งในกรณีนี้ เทรดเดอร์เชื่อว่าราคาจะตกลงกว่าเดิม และอาจจะอยู่ในช่วงตัดสินใจชอร์ตตลาดเนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะเกิดวิกฤติการเงินขึ้น หรืออาจจะขายชอร์ตหุ้นเนื่องจากบริษัทนั้น ๆ ประกาศผลกำไรได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ หรืออาจเป็นเพราะเกิดแนวโน้มเทรนด์ขาลง (downtrend) เพียงแค่นั้น
วิธีดั้งเดิมในการขายชอร์ตหุ้นก็คือการยืมหุ้นมา แล้วขายออกไปในตลาด จากนั้นก็ทำการซื้อหุ้นคืนกลับมาเมื่อราคาหุ้นตกลง ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำการขายชอร์ตได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น CFD หุ้น ซึ่งเปิดให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากราคาขาขึ้นหรือขาลงก็ได้โดยไม่ต้องครอบครองหุ้นนั้นจริง ๆ
แพลตฟอร์มเทรดอย่าง MetaTrader 5 และปลั๊กอินเสริมอย่าง MetaTrader 5 Supreme Edition จะช่วยเทรดเดอร์ได้มากทีเดียวในการตัดสินใจเทรด โดยมีฟีเจอร์การใช้งานเทรดแบบขั้นสูงหลายอย่างให้เลือกใช้ นอกจากนี้ หากคุณมี บัญชีทดลองเทรดด้วยแล้ว ก็จะสามารถฝึกการเปิดสถานะชอร์ตในตราสารชนิดต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น CFD หุ้น, Forex, CFD ดัชนี, CFD สินค้าโภคภัณฑ์ และ CFD พันธบัตร เป็นต้น หากคุณอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายชอร์ต ก็สามารถเข้าไปลองฝึกการขายชอร์ตได้แบบไร้ความเสี่ยงด้วยบัญชีทดลองเทรด ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ฝึกฝนทักษะการเทรดจนชำนาญ โดยไม่ต้องเอาเงินลงทุนเข้าไปเสี่ยงจริง ๆ และสามารถฝึกฝนได้จนกว่าคุณจะพร้อมเข้าเทรดจริง
เริ่มต้นประสบการณ์การเทรดของคุณได้เลย เพียงคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างแล้วดาวน์โหลด MetaTrader 5 ฟรี
เรียนรู้เรื่องการเทรดเพิ่มเติมได้ที่นี่
- CFD คืออะไร เทรด CFD อย่างไร มาหาคำตอบของ Contract for Difference ด้วยกัน
- ลงทุนในหุ้นตอนไหนดี
- เลือกโบรกเกอร์ Forex และโบรกเกอร์ CFD อย่างไรให้ได้รายที่ดีที่สุดประจำปี 2019
เกี่ยวกับ Admiral Markets
Admiral Markets เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้
คำสงวนสิทธิ์: ข้อมูลข้างต้นเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่จัดทำโดยอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ การประเมิน การทำนาย การพยากรณ์ และการประมวลผลหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า "บทวิเคราะห์") ซึ่งมีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admiral Markets ก่อนตัดสินใจในการลงทุนใด ๆ กรุณาอ่านรายละเอียดต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง
- ข้อมูลที่ปรากฏนี้เป็นการสื่อสารทางการตลาด บทวิเคราะห์นี้เป็นการเผยแพร่ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้เพียงอย่างเดียวและจะต้องไม่ถือเป็นการแทนคำปรึกษาหรือคำชี้แนะด้านการลงทุน ข้อมูลนี้ไม่ได้ถูกจัดทำขึ้นภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการส่งเสริมความเป็นอิสระในการค้นคว้าวิจัยด้านการลงทุน และไม่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามในการทำข้อตกลงก่อนที่จะมีการเผยแพร่บทวิจัยด้านการลงทุน
- Admiral Markets จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจลงทุนทุกประเภทของลูกค้าแต่ละราย ไม่ว่าจะมาจากเนื้อหาในบทวิเคราะห์หรือไม่ก็ตาม
- บทวิเคราะห์ถูกจัดทำขึ้นโดยนักวิเคราะห์อิสระซึ่งเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพและนักวิเคราะห์ (ต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้เขียน") โดยยึดตามการประเมินส่วนบุคคล
- เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเป็นกลางของบทวิเคราะห์ Admiral Markets ได้จัดทำกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและจัดการเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
- แม้ว่าเราจะทำทุกวิถีทางที่เป็นไปได้เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของเนื้อหาและให้ข้อมูลทั้งหมดที่แสดงอยู่ในเนื้อหานั้นมีความแม่นยำ สมบูรณ์ ความเป็นปัจจุบัน และเข้าใจได้มากที่สุด แต่ Admiral Markets ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ที่ปรากฏอยู่ในบทวิเคราะห์ ตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในข้อมูลที่แสดงถึงผลตอบแทนการลงทุนในอดีตไม่สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดผลตอบแทนการลงทุนในอนาคตได้
- เนื้อหาในบทวิเคราะห์จะต้องไม่ถือเป็นการให้คำสัญญา การรับประกัน หรือการแสดงเจตนาจาก Admiral Markets ว่าลูกค้าจะได้กำไรจากกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่กล่าวในบทวิเคราะห์ และขอสงวนความรับผิดชอบในการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากข้อมูลที่อยู่ในเนื้อหาบทวิเคราะห์
- ผลตอบแทนการลงทุนใด ๆ ในอดีต หรือตัวอย่างผลตอบแทนการลงทุนใด ๆ ของตราสารทางการเงินที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาจะต้องไม่ถือเป็นการให้คำสัญญา การรับประกัน หรือการแสดงเจตนาจาก Admiral Markets ถึงผลตอบแทนการลงทุนในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ และจะไม่มีการรับประกันมูลค่าหลักทรัพย์
- ตัวอย่างที่แสดงอยู่ในบทวิเคราะห์อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม การเรียกเก็บภาษี หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับหัวข้อของเนื้อหาที่เผยแพร่ โดยมีการระบุรายการค่าบริการที่เรียกเก็บโดย Admiral Markets อย่างเปิดเผยบนเว็บไซต์ของ Admiral Markets
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาซื้อขายส่วนต่างด้วย) ถือเป็นการเก็งกำไร และอาจมีการขาดทุนหรือทำกำไรได้ ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรด กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีแล้ว