GBP คือ ? : อยากเทรด GBPUSD ต้องทำอย่างไร?

Jitanchandra Solanki
20 นาที

GBP คือ ? คุณรู้หรือไม่ว่า ตามรายงานของ IMF ในปี 2019 ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก! ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ GBP หรือสกุลเงินปอนด์ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

ด้วยความตึงเครียดของเวทีการเมืองโลก รวมถึงขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังสั่นคลอน อังกฤษค่อย ๆ "แอบ" มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก และนี่กลายเป็นเหตุผลสำคัญที่เราควรเรียนรู้วิธีเทรด GBP USD กันไว้บ้าง

GBP คือ ?

GBP คือ รหัสย่อที่ใช้เรียกสกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (Pound Sterling) ของประเทศอังกฤษ ตามมาตรฐาน “รหัสสกุลเงิน” ISO 4217 โดย GBP เป็นสกุลเงินที่สามารถใช้ชำระมูลค่าได้ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการของอังกฤษ และกลุ่มประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ GBP เป็นสกุลเงินที่มีปริมาณการซื้อขายมากเป็นอันดับ 4 ของโลก

แล้ว GBP คืออะไร ? GBP คือ ตัวย่อที่เป็นภาษาเขียนที่ถูกใช้ในบริบทที่จำกัด ซึ่งอาจพบมากในบริบทที่เกี่ยวกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ Forex แต่ GBP ไม่ได้ย่อมาจาก “Great Britain Pound” หรือ “Great British Pound” มาแบบตรงๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน แต่ก็นับว่าใกล้เคียงข้อเท็จจริงอยู่บ้าง

▶ GBP ย่อมาจาก

GBP ย่อมาจาก “Great Britain” ที่เป็นชื่อประเทศ ผสมกับตัว “P” ที่มาจากชื่อสกุลเงิน โดย GBP เป็น “รหัสย่อ” ที่สร้างตามวิธีการของมาตรฐาน ISO 4217 ซึ่งตัวอักษรย่อ 2 ตัวแรกจะมาจากอักษรที่ถูกใช้ในมาตรฐาน “รหัสประเทศ” ISO 3166-1 alpha-2 และอักษรตัวสุดท้ายจะเป็นอักษรขึ้นต้นของสกุลเงินของประเทศนั้นๆ

ชื่อเต็มๆ ของสหราชอาณาจักรในสมัยนั้น คือ “The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland” และตามมาตรฐานรหัสประเทศ ISO 3166-1 alpha-2 ย่อชื่อยาวๆ ดังกล่าวเหลือ “GB” ซึ่งก็เป็นการดึงอักษรหน้าจากคำว่า “Great Britain” มาใช้ และดึงตัว P มาจากชื่อสกุลเงิน “Pound sterling” รวมเป็น GBP
จะเห็นว่า มันมาแบบแยกชิ้นกัน คือดึงคำย่อของชื่อประเทศ เอามาผสมกับคำย่อของชื่อสกุลเงิน ไม่ได้ย่อมาจากคำว่า Great Britain Pound แบบตรงๆ อย่างที่เข้าใจกัน

ทั้งนี้ ค่าเงิน GBP สามารถสร้างผลกำไรให้นักลงทุนได้ ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนมีทางเลือกที่หลากหลาย และมีซอฟแวร์ระบบเงินจำลองให้นักลงทุนทดลองเทรดในตลาดจริงได้ ต้องการสมัครเปิดบัญชีทดลองเทรดหรือ Demo account ฟรี - คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย!

บัญชีทดลองเทรด

ฝึกฝนการเทรดในตลาดจริงด้วยเงินจำลอง หรือ Demo Account เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการฝึกเทรดได้อย่างอิสระ มีระบบคำนวณกำไร-ขาดทุนแบบอัตโนมัติให้ศึกษา

เหตุการณ์สำคัญของค่าเงิน GBP

หลังจากเหตุการณ์ Bretton Woods อังกฤษเปลี่ยนไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว แต่หลายประเทศยังมีการเข้ามาแทรกแซงตลาดค่าเงินอยู่เป็นระยะๆ ทำให้เกิด "สงครามการกดค่าเงิน" เพื่อให้ค่าเงินอ่อนค่าลง เพื่อให้สามารถส่งสินค้าออกได้ในราคาถูกลง

แต่อังกฤษนั้นดำเนินนโยบายแตกต่างไปพอสมควร โดยพยายามตรึงค่าเงิน GBP ไว้กับมาร์คเยอรมัน (DEM) รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ทัดเทียมกับเยอรมนี แต่ปัญหา คือ เศรษฐกิจของอังกฤษเองก็กำลังตกต่ำ ค่าเงินที่แข็งและดอกเบี้ยที่สูงเกินไปจึงเป็นอันตรายกับอังกฤษ

นักเก็งกำไรเข้าใจปัญหานี้ดี รวมถึง 'George Soros' เขาได้เข้า Short สกุลเงิน GBP จนอังกฤษแบกรับภาระการพยุงค่าเงินไม่ไหว และต้องยอมปล่อยให้ค่าเงิน GBP เคลื่อนไหวลอยตัว ผลลัพธ์ คือ เงินปอนด์อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง เกิดเป็นเหตุการณ์ Black Wednesday ในวันที่ 16 กันยายน 1992

▶ Brexit ฝันร้ายของค่าเงิน GBP

ในปี 2016 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลงประชามติ Brexit หรือโหวตให้ "อังกฤษออกจากยูโรโซน" การออกจากยูโรโซน ทำให้อังกฤษสูญเสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะการค้าและเรื่องข้อยกเว้นภาษี ส่งผลให้เศรษฐกิจอังกฤษจะอ่อนแอลงในอนาคต

เกิดแรงเทขายมหาศาลในสกุลเงิน GBP จากจุดเริ่มต้นในปี 2016 ใช้เวลาเพียง 1 ปี ค่าเงิน GBP อ่อนค่ามากกว่า 17% และหากนับจากจุด 2016 ไปจนถึงจุดต่ำกว่าในปี 2020 จะเห็นว่า แนวโน้มของ GBPUSD วิเคราะห์นั้นปรับตัวลงถึง 30%

จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า หากเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ประเทศหนึ่งๆ จะได้หรือสูญเสียผลประโยชน์อะไรบ้าง เราก็วิเคราะห์แนวโน้มของค่าเงินนั้นๆ ได้ ดังนั้น เรื่องดอกเบี้ย เหตุการณ์เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ จะมีความสำคัญกับการเทรด Forex อย่างมาก

ภาพจาก: Admirals MetaTrader 5 - กราฟราคาของ GBPUSD ที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

เริ่มต้นเทรด GBPUSD

เทรดเดอร์ทั่วไปจะนิยมเทรดค่าเงินปอนด์ผ่านแพลตฟอร์ม MT5 หรือ MetaTrader 5 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานในการเทรดค่าเงินทั้งหมด อีกทั้งยังมีหุ้นต่างประเทศ ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ให้เลือกเทรดอย่างครบครัน

โดยคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเทรด GBP คู่กับสกุลเงินใดก็ได้ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการเทรดคู่กับ U.S.Dollar โดยในโปรแกรม MT5 หรือก็คือ "คู่เงิน GBPUSD" นั่นเอง

จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า เทรดเดอร์สามารถเลือกทิศทางที่จะลงทุนได้ทั้ง Buy และ Sell ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น-ขาลง โดยไม่จำเป็นต้องถือครองสกุลเงินมาก่อน

  • ถ้ากด Sell จะได้ที่ราคาด้านซ้าย : 1.3296 6
  • ถ้ากด Buy ต้องดูที่ราคาด้านขวา : 1.3265 4
ภาพจาก: Admirals MetaTrader 5 - กราฟราคาของ GBPUSD ที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

GBPUSD เป็นเพียงหนึ่งในสกุลเงินที่ได้รับความนิยมในการเทรด Forex เท่านั้น คุณสามารถเลือกจับคู่ได้หลากหลาย เช่น GBPJPY, GBPNZD เป็นต้น หลักการทำกำไรง่ายๆ คือ ต้อง Buy ต่ำเพื่อไปขายแพง หรือ Sell จากจุดแพงๆ มาปิดต่ำๆ

เช่นในกรณีการ Buy ถ้าคุณเข้า Buy คู่เงิน GBPUSD ที่ราคา 1.2500 แล้วขายออกที่ราคา 1.2575 คุณจะได้กำไรเท่ากับ 1.2575 - 1.2500 = 0.0075 หรือเรียกว่า 75 Pips ถ้าคุณลงทุน 1 Lot คุณจะได้กำไร 750 USD

ความผัวผวนเฉลี่ยของคู่เงิน GBPUSD จะอยู่ราวๆ 50-100 Pips ต่อวัน และเมื่อคุณประเมินความผันผวนเฉลี่ยของสินค้าใดๆ ได้แล้ว คุณเพียงต้องคำนวณ Lot ที่คุณจะเทรดในแต่ละครั้งให้เหมาะสม พอร์ตของคุณจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

▶ เทรด GBPUSD กับ Admirals

เหตุผลมากมายที่เทรดเดอร์ทั่วโลก ให้ความไว้วางใจกับ Admirals ด้านล่างเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

  • ฝากขั้นต่ำ และเลือกสกุลเงินบัญชีเงินฝากได้ : 100 EUR / USD / GBP / CHF
  • ตลาดที่ให้เทรด : Forex, หุ้น, ทองคำ, น้ำมัน, ETF, พันธบัตร, Cryptocurrency
  • สเปรด : คู่เงิน GBPUSD สเปรดขั้นต่ำ 0.1 Pip และปกติไม่เกิน 1 Pip
  • แพลตฟอร์ม : MetaTrader PC, MetaTrader Web Trader, MetaTrader แบบมือถือ
  • ระบบเงินจำลอง : มีบัญชีmทดลองเทรด (Demo) ให้ฝึกเทรดได้ไม่จำกัด ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

เทรดบัญชีทดลองโดยปราศจากความเสี่ยง

ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินจำลองฟรี

แนวโน้มของ GBPUSD วิเคราะห์และแนวทางที่น่าสนใจ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ GBPUSD โดยเฉพาะวิเคราะห์ GBP/USD วันนี้มีหลากหลายมาก แต่อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า การวิเคราะห์หลักๆ จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักการอ่านปฏิทิน Forex แต่ในที่นี่จะสรุปคร่าวๆ ที่เกี่ยวกับเงินปอนด์ อาทิ

  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE): หรือที่เรียกว่า BOE จะเป็นองค์กรที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยของประเทศ ดอกเบี้ยในระดับสูง โดยทั่วไปจะทำให้เกิดการไหลเข้ามาของเม็ดเงินที่ต้องการดอกเบี้ยจากพันธบัตร ตรงข้ามข้าม ดอกเบี้ยต่ำๆ มักทำให้ค่าเงินอ่อนค่า
  • การเมืองและรัฐบาล: เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางการค้าต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลก สถานการณ์ทางการเมืองภายในมักส่งผลแนวโน้มค่าเงิน GBP ด้วย เช่น ถ้ามีนโยบายที่ปิดตัวเองจากตลาดโลก ก็มักทำให้ GBP อ่อนค่าลง
  • ตัวเลขเศรษฐกิจ : ตรงนี้จริงๆ เกิดขึ้นทุกประเทศ โดยตัวเลขเศรษฐกิจจะมีผลกระทบทั้งสั้นและยาว แต่จะมีเพียงตัวเลขที่สำคัญหลักๆ เท่านั้นที่จะส่งผลต่อแนวโน้มค่าเงิน GBP หรือ GBP USD กราฟในระยะยาว ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ, การจ้างงาน, ตัวเลขค้าปลีก เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อระดับความต้องการ หรือที่เรียกว่า Demand ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือ ดอกเบี้ย เช่น หากอังกฤษส่งออกได้เยอะ ก็แปลว่าจะมีความต้องการสกุลเงินปอนด์ เพื่อเอาเงินปอนด์มาซื้อสินค้าที่อังกฤษส่งออก อีกตัวอย่าง คือ ถ้าดอกเบี้ยสูง ก็มักมีความต้องการถือเพื่อเอาดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

▶ GBPUSD แนวโน้มและการวิเคราะห์ทางเทคนิค

หัวข้อข้างต้นเป็นเรื่องการวิเคราะจากปัจจัยตั้งต้น เรามักเรียกว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental Analysis หรือปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนรายย่อยจะนิยมใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนการวิเคราะห์น้อยกว่า

  • แนวโน้มกับค่าเฉลี่ยของราคา

การวิเคราะห์ค่าเงินใดๆ รวมถึง GBP USD วิเคราะห์ หรือ GBP/USD กราฟ นั้นยังให้ความสำคัญกับเรื่องแนวโน้มเป็นอย่างมาก เครื่องมือที่ได้รับความนิยม คือ Exponential Moving Average หรือ EMA หลักการทั่วไป คือ ถ้าราคายังเคลื่อนที่เหนือเส้น EMA ก็แปลว่า ทิศทางในแนวโน้มนั้น ๆ ยังแข็งแกร่งดี

สำหรับนักเทรด Commodity หรือหุ้น มักนิยมใช้เส้น EMA ที่ไม่ช้านัก เช่น EMA-10 วัน, EMA-20 วัน ซึ่งเราสามารถปรับใช้กับค่าเงินได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขศักดิสิทธิ์อย่าง EMA-50 มักนำมาใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวในระยะกลาง และใช้ EMA-200 ยืนยันแนวโน้มภาพใหญ่

ภาพจาก: Admirals MetaTrader 5 - กราฟราครายวันของ GBPUSD ที่วิเคราะห์ด้วยเส้น EMA ที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ตัวอย่าง GBP USD วิเคราะห์ข้างต้นนั้น เราใช้ EMA-50 เส้นสีเหลือง ราคาที่ยืนเหนือเส้น (สี่เหลี่ยมสีเขียว) จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวครั้งใหม่

แต่เมื่อใดที่ราคาไม่สามารถยืนบนเส้นได้แข็งแกร่ง (สี่เหลี่ยมสีเหลือง) สะท้อนว่า ตลาดอ่อนแรงลง และอาจหมายถึง ตลาดจะกลับมาไม่มีแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า ตลาดกลับตัวจริงๆ ในสี่เหลี่ยมสีแดงถัดมา ดังนั้น การใช้ EMA ต้องระวังเรื่อง "สัญญาณ" ที่อาจเตือนล่วงหน้านานหน่อย!

  • การวิเคราะห์ความผันผวน

ความผันผวนคือสิ่งสำคัญของการเทรดสินทรัพย์ใดๆ ทั้งสิ้น เทคนิคนี้นำมาปรับใช้เพิ่มให้การวิเคราะห์สมบูรณ์แบบมากขึ้น เราจะเห็นว่า การวิเคราะห์แนวโน้มด้วยเส้น EMA ดังหัวข้อที่แล้ว โดยพื้นฐานทำให้สามารถเข้าเทรดในจุดที่เหมาะสมได้

แต่การใช้ EMA เพื่อ GBP USD วิเคราะห์อย่างเดียวนั้น เราต้องออกแบบจุด Take Profit ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจไม่ได้สอดคล้องกับตลาด จึงมีหลายคนนำเรื่องความผันผวนของราคาเข้ามาช่วย หลักการง่ายๆ คือ ทุกครั้งที่ความผันผวนของราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ มักมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

ภาพจาก: Admiral Metatrader 5 - กราฟราคารายวันของ GBPUSD โดยใช้ Bollinger Bands ที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

ภาพด้านบนเป็นวิธีการใช้ Bollinger Bands ในการวิเคราะห์ความผันผวน โดยเมื่อ "เส้นกรอบนอก" หรือที่เรียกว่า Band ขยายออกมากกว่าความกว้างปกติที่ผ่านๆ มา มันจะเป็นสัญญาณเตือนถึงการกลับตัว ให้สังเกตที่สี่เหลี่ยมสีเหลืองในภาพข้างต้น

จะเห็นว่า วิธีการเทรดจริงๆ นั้นเรียบง่าย และเทรดเดอร์มืออาชีพต่างเริ่มต้นการเทรดด้วยสิ่งที่เรียบง่าย ความซับซ้อนจะเพิ่มขึ้นตามความเข้าใจและลักษณะนิสัยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับความสามารถในการทำกำไร จึงแนะนำให้ทุกคนเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ก่อน

และคุณเองก็สามารถเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเทรด Forex ได้อย่างง่ายๆ โดยการฝึกฝนผ่าน MT5 ซึ่งคุณสามารถเปิดบัญชีทดลองเทรดเพื่อเทรด GBPUSD หรือสินค้าอื่นๆ อย่าง หุ้น ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!

ตัวอย่างกลยุทธ์การเทรด GBPUSD

การที่แนวคิดหนึ่งๆ จะกลายเป็นระบบเทรดได้นั้น มักมีองค์ประกอบสำคัญๆ 2-3 ประการ ได้แก่ แนวทางการวิเคราะห์ วิธีการระบุจุดซื้อขาย และหลักการควบคุมความเสี่ยง ในหัวข้อที่แล้ว เราอธิบายให้เห็นถึง "แนวทางการวิเคราะห์ของ GBP/USD กราฟ" อย่างคร่าวๆ แต่ในที่นี้เราจะทำให้สมบูรณ์ขึ้น

เราจะระบุจุดซื้อขายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคนิคกราฟแท่งเทียน หรือ รูปแบบ Price Action โดยในที่นี้จะประยุกต์รูปแบบ Hammer มาใช้ร่วมกับ Moving Average

 

เนื่องจากความผันผวนของตลาด Forex หลักการของรูปแบบ Hammer ในปัจจุบันไม่ได้ตายตัวอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดรูปแบบ "ค้อน" หรือแบบกลับหัว หากเกิดขึ้นในแนวราคาสำคัญ เราก็นิยมถือว่า เป็นสัญญาณกลับตัว เนื่องจากมันสะท้อนถึงความไม่แข็งแรงของแนวโน้มปัจจุบัน

 

ระบบตัวอย่างนี้ เราจะใช้เพียงรูปแบบ Hammer และเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดยในรอบนี้จะกลับมาที่ EMA-20 เพราะเป็นกลยุทธ์การเทรดระยะสั้น แต่ต้องตั้งค่า EMA ตรง Apply to ให้เป็น High หรือ Low ตามแนวโน้มของตลาดหรือทิศทางที่จะเล่น

  • แนวโน้มขาลง หรือถ้าจะเล่นฝั่ง Sell : ตั้งค่าเป็น High
  • แนวโน้มขาขึ้น หรือถ้าจะเล่นฝั่ง Low : ตั้งค่าเป็น Low

วิธีการเปิดการตั้งค่าให้กดปุ่ม Ctrl + i ในโปรแกรม MT5 เทคนิคการตั้งค่าแบบนี้ จะทำให้เส้นค่าเฉลี่ยปรับเข้ามา "จุดพีค" ซึ่งมันเป็นจุดที่มีความผันผวนสูงและมักเป็นจุดสุดท้ายก่อนที่ราคาจะกลับตัว

หลักการง่ายมาก เมื่อเราปรับค่า EMA เป็น High หรือ Low จะเป็นการโฟกัสที่ทิศทางหนึ่งๆ และเราจะใช้ Hammer มายืนยันจุดสัมผัสอีกครั้งหนึ่ง แนวคิดของระบบนี้ คือ การปรับค่า EMA มันเป็นการจับจังหวะจุดพีคอยู่แล้ว การใช้ Hammer ช่วย จะทำให้ความแม่นยำสูงขึ้นอย่างมาก

ให้ลองสังเกตภาพตัวอย่างด้านล่าง จุดที่สามารถเข้าเทรดได้ ตัวเส้น EMA ต้องไม่อยู่กึ่งกลางของกรอบการเคลื่อนไหวของราคา จะเห็นว่า ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง เส้น EMA จะเคลื่อนตรงกลางของกรอบ แสดงว่า เป็นไซด์เวย์ และจะไม่ใช่จังหวะเทรดสำหรับกลยุทธ์นี้

ภาพจาก: Admirals Metatrader 5 - ราฟราคาของ GBPUSD, H1, ที่วิเคราะห์โดย EMA ที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

 

แต่ให้สังเกตว่า จุดที่มีลูกศรสีเขียว นั้นคือจุดที่มีแนวโน้มชัดเจน ราคาเคลื่อนต่ำกว่าเส้น EMA ซึ่งในทางปฏิบัติจริงๆ เราจะรอให้ราคาเคลื่อนต่ำกว่าเส้น EMA และมาทดสอบเส้น EMA อย่างน้อยเป็นครั้งที่ 2 หลังจากนั้น เราค่อยปรับค่า EMA เป็น Low

นั่นแปลว่า สัญญาณการเทรดจริงๆ จะอยู่ในครั้งที่ 3 ที่ราคากลับมาสัมผัสเส้น EMA และให้เรายืนยันจังหวะการเทรดด้วย Price Action แบบ Hammer ทั้งนี้ ระยะเวลาเฉลี่ยในการถือครองจะอยู่ราวๆ 4 - 12 ชั่วโมง

ระบบเทรดข้างต้น จะเห็นการเทรดระยะสั้น เก็บกำไรไม่กว้างมาก แต่สัญญาณการเทรดจะมาไม่บ่อย อาจเทรดได้อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้ หากต้องการทำตาม แนะนำให้กลับไปทดลองในบัญชีทดลองของ MT5 จะทำให้คุณมั่นใจ หรืออาจปรับระบบเทรดให้เหมาะสมกับตัวคุณเองได้มากยิ่งขึ้น

ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!

  • เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
  • เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
  • ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

เปิดบัญชี Copy Trading

คัดลอกการซื้อขายจากเทรดเดอร์มืออาชีพ ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้คุณยังสามารถเรียนรู้การเทรดจากบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ดังนี้

รู้จักกับ Admirals

Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก เช่น FCA, CySEC และ ASIC เป็นต้น โดย Admirals ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
Lot คือ : รู้จักกับ Forex Lot และการคํานวณ Lot Size
Lot คือ คำศัพท์พื้นฐานในการเทรด Forex หรือสินค้าอ้างอิงใดๆ ที่เทรดผ่านสัญญา CFD ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, น้ำมัน หรือแม้แต่หุ้นรายบริษัท และหากเทรดโดยใช้ตราสาร CFD ก็จะต้องเทรดด้วยหน่วยของ Lot อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้ จะอธิบายว่า Lot คืออะไร คํานวณ Lot และการคํานวณ Lot Size สำคัญอย่างไร และจะส...
รูปแบบแท่งเทียนและคู่มือการอ่านกราฟแท่งเทียนใน Forex และตลาดหุ้น
รูปแบบแท่งเทียนและกราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ทำให้มองเห็นสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมราคาได้ง่ายขึ้น การใช้กราฟแท่งเทียนแบบญี่ปุ่นสำหรับกรอบระยะเวลาในการเทรดจะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจอารมณ์ตลาดได้ดียิ่งขึ้น ต้องขอบคุณ Steve Nison ที่ทำให้เราได้รู้จักนำเอากราฟแท่งเทียนเข้ามาใช้ในการเทรดเพื่อให้ได...
เรียนรู้วิธีการเป็นนักเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ
การซื้อขาย Forex สามารถเข้าถึงได้ง่ายน่าตื่นเต้นศึกษาและมอบโอกาสมากมายให้ผู้ค้า แม้จะมีทั้งหมดนี้ผู้ค้าจำนวนมากยังล้มเหลวในการเรียนรู้วิธีที่จะกลายเป็นผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จและยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในตลาดนี้ ในความเป็นจริงแล้วผู้ค้า Forex จำนวนมากสูญเสียเงิน การเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยน Forex และการเ...
ดูทั้งหมด