สรุปภาพรวม : การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คืออะไร?

Admirals
39 นาที

แนวทางการวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ หลักๆ แล้วจะถูกจัดออกเป็น 2 ประเภท คือ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตลาดการเงิน แต่เทรดเดอร์จะนิยม "เทคนิค" มากกว่า เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากพอที่จะสร้างกำไร และประหยัดเวลาในการวิเคราะห์

ในบทความนี้ จะสรุปให้เห็นถึงภาพรวมของการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เทรดเดอร์ประเมินได้ว่า ตัวเองนั้นเหมาะสมกับเทคนิคแบบไหน รวมถึงสามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ทางเทคนิคในสินทริพย์ที่แตกต่าง เช่น หุ้น กับ Forex ได้ด้วย

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คือ การศึกษารูปแบบราคาของสินทรัพย์ทางการเงินใดสินทรัพย์หนึ่ง เช่น หุ้น, Forex มีเป้าหมายเพื่ออธิบายว่า เหตุผลของการก่อกำหนดรูปแบบเหล่านั้น ซึ่งนั่นไปสู่การประเมินทิศทางความเป็นไปได้ของราคา อาจแบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ

  • รูปแบบกราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) : เทรดเดอร์จะใช้กราฟแท่งเทียน โดยพิจารณาที่บริเวณ "แนวรับ-แนวต้าน" เทคนิคนี้ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีความซับซ้อนน้อย และไม่ได้ลดทอนประสิทธิภาพแต่อย่างใด โดยพิจารณาเพียง ราคาเปิด, ปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุด ของแท่งเทียนหนึ่ง ๆ เท่านั้น
  • รูปแบบกราฟราคา (Chart Pattern) : คือการพิจารณา "ชุดของแท่งเทียน" ที่ประกอบรวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เทรดเดอร์จะใช้ Trendline เป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดรูปแบบที่เป็นไปได้ เช่น รูปแบบกราฟสามเหลี่ยมสมมาตร (Symmetrical Triangle) เป็น
  • การใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) : แนวทางการวิเคราะห์ในลักษณะ เทคนิคส่วนใหญ่จะอ้างอิงกับ "ค่าเฉลี่ยของราคา" ซึ่งอาจนำค่าเฉลี่ยมา Plot กราฟโดยตรง เช่น Moving Average หรืออาจแปลงเป็นค่าดัชนี เช่น เครื่องมืออย่าง RSI, Stochastic เป็นต้น

มีหลายวิธีด้วยกันที่สามารถใช้ได้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้ใช้งานจะต้องดึงเอาข้อมูลราคาย้อนหลังมาใช้ระบุรูปแบบราคาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างเป็นแบบแผนทั้งสิ้น ซึ่งรูปแบบราคาเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ช่วยเทรดเดอร์ในการคาดการณ์สภาวะตลาดได้อย่างแม่นยำ รวมถึงช่วยหาจุดเข้าและออกจากตลาดด้วย

ความเป็นมาของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิคของตลาดการเงินถือกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีตลาดเกิดขึ้นในโลกซึ่งขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์และอุปทานแล้ว ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ราว ๆ ศตวรรษที่ 17 โดยพ่อค้าชาวดัชต์ และในศตวรรษที่ 18 โดยผู้ค้าข้าวชาวญี่ปุ่น ในปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากการนำเสนอต่อตลาดซื้อขายสินทรัพย์โดย Charles Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal

นอกจากนี้ก็ยังมีผู้บุกเบิกด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคร่วมชาติเดียวกันกับ Charles Dow อีกหลายคน เช่น Ralph Nelson Elliott ผู้คิดค้นทฤษฎี Elliott Wave, William Delbert Gann ผู้คิดค้นทฤษฎี Gann Angle, Richard Demille Wyckoff ซึ่งถือเป็นนักจิตวิทยาตลาดคนแรกที่ตั้งทฤษฎีกล่าวอ้างว่าควรมองตลาดซื้อขายที่ประกอบไปด้วยบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว

คำสอนของเขายังคงถูกนำไปใช้สอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐฯ อยู่จนถึงทุกวันนี้ เกือบตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 และในอดีตที่ผ่านมา การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะจำกัดอยู่เพียงแค่การวิเคราะห์กราฟราคา เนื่องจากการคำนวณทางสถิติของข้อมูลปริมาณมาก ๆ นั้นยังไม่สามารถทำได้ และยังไม่มีอินดิเคเตอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคให้ใช้งานด้วยเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันซึ่งถูกเรียกว่าเป็น 'ยุคดิจิตอล' อาจถือเป็นยุคทองของการวิเคราะห์ทางเทคนิคเลยก็ว่าได้ และตอนนี้นี่แหละคือช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมัน

เริ่มเทรดและฝึกวิเคราะห์กราฟ Forex ด้วย "บัญชีเงินจำลอง"

หากคุณเริ่มได้ไอเดียเกี่ยวกับการเทรดด้วย Technical Analysis แล้ว เราก็ภูมิใจเช่นกันที่จะนำเสนอว่า เทรดเดอร์มืออาชีพที่เลือกเทรดกับ Admirals สามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ ได้จากระบบบัญชีเงินจำลอง (Demo Account) ได้ ซึ่งทำให้สามารถทดลองกลยุทธิ์ใหม่ๆ รวมถึงการวิเคราะห์กราฟ Forex ด้วย Technical Analysis อีกด้วย คุณจะสามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ บนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ คำนวณเงินและราคาได้ตามตลาดจริง เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

หลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่สำคัญ อยู่บางประการที่ทำให้มันมีประโยชน์และสอดคล้องกับการเทรดในปัจจุบัน และพื้นฐานสำคัญซึ่งคุณควรรู้นั้นประกอบไปด้วย

▶ ราคาได้สะท้อนข้อมูลทุกอย่างไว้หมดแล้ว

องค์ประกอบของการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นเกิดมาจาก ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ซึ่งอ้างว่าราคาคือตัวแปรที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นปัจจัยใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานก็จะต้องปรากฏขึ้นบนกราฟราคาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับการศึกษาวิจัย หรือแม้แต่การสังเกตดูเหตุการณ์ใด ๆ ที่นอกเหนือจากพฤติกรรมราคาแล้ว ถือว่าไม่มีประโยชน์เลย เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้ประเมินสถานการณ์ใด ๆ ได้และยังเป็นข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพออีกด้วย

ราคาเคลื่อนไหวเป็น Trend (อย่างมีแนวโน้ม)

สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิคมักจะชอบลักษณะของตลาดที่ตามเทรนด์ ซึ่งเหมือนกับที่ทฤษฎีดาวกล่าวอ้างไว้ ตลาดอาจจะเป็นไปในทิศทางขาขึ้นหรือตลาดกระทิง (Bullish market) โดยมีทั้ง higher high และ higher low ส่วนในภาพรวมนั้นจะเห็นได้ว่าราคามีลักษณะกระโดดขึ้น ๆ ลง ๆ ในกรอบทิศทางขาขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าตลาดมีลักษณะราคาเช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น แต่เปลี่ยนเป็นกราฟที่มี lower low และ lower high แทนก็จะแสดงให้เห็นสภาวะตลาดขาลงหรือตลาดหมี (Bearish market) นั่นเอง

ส่วนเทรนด์ราคาออกข้างนั้นเรียกว่า Ranging market ซึ่งเป็นลักษณะตลาดที่เทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนด์ไม่ค่อยชอบนัก เนื่องจากช่วงที่ราคามีการพักตัวนั้น เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป Ranging market นั้นหมายถึงว่าแนวโน้มตลาดไม่ได้เป็นไปในทิศทางขาขึ้นหรือขาลงเลย และไม่ปรากฏแนวโน้มว่าทิศทางขาขึ้นหรือทิศทางขาลงจะแข็งแรงกว่ากันเนื่องจากกรอบระยะเวลาที่ราคาเปลี่ยนแปลงไปไม่นานพอที่จะเป็นเทรนด์ได้ ราคาตลาดจะมีช่วงพักตัวอยู่ที่ประมาณ 60% ของเวลาทั้งหมด ทำให้การระบุเทรนด์ตลาดให้ได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

การวิเคราะห์ทางสถิติของ Forex นั้นไม่ได้แสดงให้เห็นว่า 'ทำไม' จึงเกิดสิ่งนั้น ๆ ขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 'ทำไมจึงเกิดเทรนด์' คำถามนี้ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่สมเหตุสมผล แต่กลับไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเทรดเลยสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งเน้นข้อมูลด้านตัวเลขไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ สำหรับพวกเขาแล้ว การเกิดขึ้นของเทรนด์เป็นเพียงสิ่งที่พิสูจน์ในเชิงประสบการณ์เท่านั้น

ประวัติศาสตร์เกิดซ้ำรอยเสมอ

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างเห็นตรงกันว่านักลงทุนจะมีการลงทุนอย่างเป็นแบบแผน และด้วยพฤติกรรมดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถระบุแบบแผนและสามารถเทรดทำกำไรได้อย่างแม่นยำ เท่าที่ต้องใช้ก็มีเพียงแค่ข้อมูลทางสถิตินิดหน่อย บวกกับการเกิดแบบซ้ำ ๆ ของรูปแบบราคา และเลเวอเรจ

แม้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคของตลาดการเงิน อย่างเช่น การวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค Forex จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีเทรดเดอร์หลาย ๆ คนที่ยังเลือกใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์อารมณ์ตลาด นักวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจจะมีความเชี่ยวชาญในการระบุเทรนด์ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยพื้นฐานที่แหละที่ก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นเป็นเทรนด์ได้

ความแตกต่าง Technical Analysis และ Fundamental

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ศึกษากราฟราคาและรูปแบบราคา

ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจหรือข้อมูลของธุรกิจ

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นการศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ (เช่น ตัวเลขยอดขายปลีก, รายงานอัตราเงินเฟ้อ, ข้อมูลอัตราว่างงาน เป็นต้น) หรือข่าวและการประกาศผลประกอบการของบริษัทหรือธุรกิจเพื่อระบุเทรนด์ของตลาด และระบุจุดพลิกกลับหรือจุดเปลี่ยนทิศทางของตลาดหนึ่ง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานยังคงมีประโยชน์ในตลาดสินทรัพย์บางประเภท อย่างเช่น ตลาดหุ้น เป็นต้น แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคกลับดูจะเป็นที่นิยมมากกว่า

สาเหตุหนึ่งก็คือมีการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วยในการตัดสินใจเทรดมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้การวิเคราะห์ดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพและได้ผลมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานร่วมกันในการตัดสินใจเทรด เพราะถ้าการวิเคราะห์ทั้งสองแบบชี้ทิศทางของตลาดไปในทางเดียวกัน ก็ถือว่ามีโอกาสสูงที่จะเป็นเทรดที่กำไรได้

▶ ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex จะต้องการแค่เพียงเครื่องมือพื้นฐานฟรีไม่กี่ตัวบนแพลตฟอร์มเทรด MetaTrader ของ Admirals
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex นั้นบางครั้งก็บอกทิศทางตลาดและระบุจุดเข้าและออกจากตลาดได้ค่อนข้างแม่นยำ
  • มีเครื่องมือและอินดิเคเตอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคมากมายหลายตัวที่ช่วยระบุ Trade setup ที่อาจทำกำไรได้

▶ ข้อเสียของการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

  • เนื่องจากมีการใช้งานการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างแพร่หลาย จึงอาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในตลาดอย่างฉับพลันซึ่งมาจากการที่เทรดเดอร์หลาย ๆ คนได้ผลการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการคาดคะเนทิศทางตลาดเหมือนกันนั่นเอง
  • ในตลาดการเงินบางประเภท ควรนำเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอยู่เสมอ

▶ ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

  • ทำให้คุณเข้าใจสภาวะของตลาดว่าทำไมจึงเกิดสภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง
  • เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วอาจสามารถบ่งชี้เทรนด์ระยะยาวได้

▶ ข้อเสียของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

  • มีเครื่องมือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากมายให้เลือกใช้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแสดงข้อมูลการวิเคราะห์ที่ขัดแย้งกันกับอินดิเคเตอร์บางตัว จึงทำให้ได้ทั้งข้อมูลดีและข้อมูลเสีย จนทำให้เกิดความสับสนในข้อมูลได้ง่าย แตกต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค
  • เมื่อต้องคอยติดตามการประกาศข่าวด้านเศรษฐกิจหรือธุรกิจอยู่ตลอดเวลาก็ทำให้กินเวลาไปไม่น้อยเลยทีเดียว
  • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่บ่งชี้ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าตลาดจะดำเนินไปในทิศทางนั้นจริง ๆ เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนตัวลง แต่นั่นก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าตามไปด้วย เพราะถ้าสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งหมดอ่อนค่าลง เทรดเดอร์ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกถือดอลลาร์สหรัฐไว้มากกว่าเนื่องจากสหรัฐฯ คือประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และน่าจะมีการฟื้นตัวที่เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ นั่นเอง
  • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต้องใช้เวลานานในการฝึกฝนให้ชำนาญเพื่อให้สามารถคาดการณ์ทิศทางสภาวะตลาดที่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลทางเศรษฐกิจ อย่างเช่น รายงานสภาวะเงินเฟ้อ และการประกาศผลประกอบการของธุรกิจ เป็นต้น

ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!

  • เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
  • มีหุ้นให้ทดลองเทรดเหมือนตลาดจริงมากกว่า 4,000 หุ้นจากตลาดหุ้นสำคัญ 17 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
  • เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
  • ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

โดยทั่วไปแล้วเทรดเดอร์และนักลงทุนในตลาดหุ้นมักเลือกที่จะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ดีหรือไม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้โปรแกรมเทรดอัตโนมัติ (เทรดด้วยอัลกอริธึม) มากขึ้น ซึ่งจะใช้อินดิเคเตอร์และรูปแบบกราฟการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรด จึงทำให้เทรดเดอร์หันมาใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรดตลาดหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ

เป็นเรื่องปกติที่เทรดเดอร์ตลาดหุ้นจะเลือกเทรดในดัชนีตลาดหุ้นหลักอย่างเช่น S&P 500 หรือ DAX 30 เนื่องจาก S&P 500 เป็นหนึ่งในดัชนีตลาดหุ้นที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 จึงใช้การได้ดีในสภาวะตลาดที่เหมาะสม

การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยรูปแบบกราฟแท่งเทียน

อย่างที่ทราบกันดีว่าการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคนั้นเป็นการศึกษาราคาเพื่อระบุทิศทางตลาดซึ่งจะทำให้สามารถหาจุดเข้าตลาดที่จะทำกำไรได้และหาระดับราคาหยุดขาดทุนได้ด้วย มีการนำการวิเคราะห์ทางเทคนิคหลาย ๆ แบบมาใช้กับกราฟแท่งเทียน โดยรูปแบบดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่การวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ในตลาดการเงินประเภทอื่นได้ด้วย

ก่อนที่เราจะไปอธิบายตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคด้วยรูปแบบกราฟแท่งเทียน ลองมาทำความเข้าใจการเกิดกราฟแท่งเทียน buyer/bullish (ขาขึ้น) และกราฟแท่งเทียน seller/bearish (ขาลง) กันก่อน

หากคุณเข้าไปดูกรอบระยะเวลาแบบรายวันในโปรแกรมวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader ก็จะพบว่ากราฟแท่งเทียนด้านบนแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการเทรดตลอดหนึ่งวันและยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลาย ๆ ประการกับนักวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วย อาทิเช่น

ระดับราคาสูงและต่ำบ่งบอกให้นักวิเคราะห์ทราบราคาสูงสุดและต่ำสุดในตลาดที่ทำได้ในช่วงเวลาหนึ่งวัน

  • กราฟแท่งเทียนผู้ขาย ซึ่งแสดงด้วยแท่งเทียนสีดำ หรือบางครั้งเป็นสีแดงจะเป็นตัวแจ้งให้นักวิเคราะห์ทราบว่าผู้ขายเป็นฝ่ายชนะการเทรดในวันนั้น ๆ เนื่องจากราคาปิดตลาดที่ระดับต่ำกว่าราคาเปิดตลาด
  • กราฟแท่งเทียนผู้ซื้อ ซึ่งแสดงด้วยแท่งเทียนสีขาว หรือบางครั้งเป็นสีเขียนจะเป็นตัวแจ้งให้นักวิเคราะห์ทราบว่าผู้ซื้อเป็นฝ่ายชนะการเทรดในวันนั้น ๆ เนื่องจากราคาปิดตลาดที่ระดับสูงกว่าราคาเปิดตลาด

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคเพื่อสร้าง 'trading picture' ของสภาวะตลาดและคาดการณ์ทิศทางของตลาดที่จะเกิดขึ้นต่อไป ตัวอย่างเช่น

  1. ถ้ากราฟแท่งเทียนที่ต่อจากกราฟแท่งเทียนผู้ขายยังคงมีราคาตกลงเรื่อย ๆ จนราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ขายจะยังคงเทขายอย่างต่อเนื่อง หรือ short ตลาดนั่นเอง กรณีนี้จะทำให้เทรดเดอร์บางคนเริ่มเปิดสถานะคำสั่ง short หรือคงสถานะคำสั่ง short เอาไว้
  2. ถ้ากราฟแท่งเทียนที่ต่อจากกราฟแท่งเทียนผู้ซื้อมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนราคาทำจุดสูงสุดใหม่ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ซื้อจะยังคงส่งคำสั่งซื้อต่อไปเรื่อย ๆ กรณีนี้จะทำให้เททรดเดอร์บางคนเริ่มเปิดสถานะคำสั่ง long หรือคงสถานะคำสั่ง long เอาไว้

ลักษณะการเกิดกราฟแท่งเทียนมีหลายรูปแบบด้วยกันซึ่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคจะนำไปใช้ในการเทรดด้วยกราฟแท่งเทียน หนึ่งในรูปแบบการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่ว่านี้ก็คือ 'Shooting Star'

รูปแบบการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค Shooting Star เป็นสัญญาณบ่งบอกสภาวะตลาด bearish หรือตลาดขาลงซึ่งมีแนวโน้มที่ราคาตลาดจะตกลงมากกว่าที่จะปรับตัวสูงขึ้น ในรูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิครูปแบบนี้ ผู้ซื้อมีการผลักดันราคาตลาดให้ทำจุดสูงสุดใหม่แต่ไม่สามารถคงระดับราคานั้นไว้ได้ ผู้ซื้อบางคนจึงปิดสถานะคำสั่ง long ทิ้งไป ทำให้ราคาตลาดยิ่งปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ผู้ขายเริ่มเข้าคุมตลาด ตามหลักแล้วราคาเปิดและปิดมักจะอยู่ที่ครึ่งล่างของกราฟแท่งเทียน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของรูปแบบกราฟแท่งเทียน Shooting Star ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex บนกราฟราคารายวันของคู่สกุลเงิน GBP/USD

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ในบางกรณี ราคาตลาดปรับตัวลดลงจริง ๆ แต่ในบางกรณี ราคาอาจเด้งกลับมาสูงขึ้นก็เป็นได้ นักวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจเลือกใช้เครื่องมืออื่น ๆ จากการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคมา 'build picture' ของสภาวะตลาดและกำหนดหาจุดเข้าและออกจากตลาดได้ด้วย จากตัวอย่างข้างต้น ราคาตลาดปรับตัวลดลงหลายครั้งมากกว่าที่จะปรับตัวสูงขึ้นทำให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มตลาด Forex ได้ แต่นี่ก็ไม่ได้รับประกันถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตว่าจะเป็นตามนั้นจริงหรือไม่

เริ่มทดสอบกลยุทธ์การเทรด Technical Analysis ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5

คุณรู้หรือไม่ว่า? MetaTrader 5 หรือ "MT5" เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟ Forex ระดับสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและระบบเทรดได้ตามต้องการ ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในหลากหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย และโบรกเกอร์ Admirals ยังมีข้อดีต่าง ๆ อีกมากมาย

  • เปิดบัญชีทดลองได้ฟรี
  • และหากต้องการลงทุนในตลาดจริง เงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD หรือประมาณ 750 บาทเท่านั้น!
  • มีหุ้นมากกว่า 4,000 รายการจากตลาดหุ้นสำคัญ 17 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
  • สามารถใช้ Leverage ได้สูงสุดถึง 1:1000 ทำให้ซื้อขายได้มากกว่าปกติ 1,000 เท่า เหมาะสำหรับการแก้สถานการณ์ต่าง

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี Demo หรือบัญชีจริง คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

เปิดบัญชี MT5 ฟรี!

การวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex

ตลาด Forex นั้นเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงหรือมีการซื้อขายสูง จึงทำให้เป็นตลาดที่ดึงดูดเทรดเดอร์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเทรดเดอร์แบบ Scalper ที่ทำการเทรดภายใน 1 นาที, เทรดเดอร์แบบที่เทรดภายในหนึ่งวันที่ดูกราฟแบบ 4 ชั่วโมงเพื่อทำการซื้อขาย ไปจนถึงเทรดเดอร์แบบ Swing trade ที่เทรดโดยดูกราฟรายวัน เนื่องจากมีผู้เข้าที่เทรดในตลาด Forex หลากหลายประเภทหลากหลายรูปแบบด้วยกัน จึงทำให้มีการวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

แนวทางการใช้งาน Stochastic Oscillator

อันที่จริงแล้ว นักวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex สามารถเลือกใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกราฟ, รูปแบบกราฟแท่งเทียน หรือแม้แต่อินดิเคเตอร์ เราลองยกอินดิเคเตอร์โมเมนตัม (Momentum indicator) สักตัวหนึ่งมาดูกันแบบละเอียดสักนิด

อินดิเคเตอร์ที่เราจะกล่าวถึงก็คือ Stochastic Oscillator ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex เนื่องจากว่ามันเป็นอินดิเคเตอร์โมเมนตัม จึงสามารถช่วยระบุจุดกลับตัวของราคาตลาดได้

การใส่อินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator ลงไปในโปรแกรมการวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. เปิดแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 หรือ MetaTrader 5 ขึ้นมา
  2. ในตัวเลือกเมนูด้านบนให้เลือก Insert -> Indicators
  3. ในหัวข้อ Indicators ให้เลือก Oscillators -> Stochastic Oscillator
  4. กด Ok

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

แล้วเทรดเดอร์ใช้ Stochastic Oscillator ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex อย่างไร แม้ว่าจะสามารถใช้ได้ในหลาย ๆ ทางด้วยกัน แต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้อินดิเคเตอร์ตัวนี้ในการหาสัญญาณ Overbought (ซื้อมากเกินไป) และ Oversold (ขายมากเกินไป)

  1. ถ้าเส้น Stochastic อยู่เหนือระดับ 80 แสดงว่าตลาดน่าจะ overbought
  2. ถ้าเส้น Stochastic อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 แสดงว่าตลาดน่าจะ oversold

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

ในกรณีนี้ เทรดเดอร์บางคนอาจเลือกที่จะรอให้เส้น Stochastic ลงมาต่ำกว่าระดับ 80 แต่เทรดเดอร์บางคนก็อาจจะเลือกวางคำสั่งขายเพื่อเก็งกำไรตอนราคาตลาดตกลง การวางคำสั่งขายทำได้โดย

  1. คลิกขวาแล้วเลือก Trading -> New Order
  2. คลิก F9 ที่แป้นพิมพ์
  3. คลิกแท็บ New Order ที่แถบเมนูด้านบน

เมื่อมีหน้าตั๋วคำสั่งเทรดปรากฏขึ้น เทรดเดอร์ก็สามารถใส่รายละเอียดการเทรดของตนลงไปได้ เช่น ชนิดของคำสั่ง, ปริมาณ, ราคาเข้าตลาด, จุดหยุดขาดทุน เป็นต้น โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์จะใช้มูลค่าสูงสุดและต่ำสุดของแท่งกราฟก่อนหน้าในการกำหนดจุดราคาเข้าตลาดและจุดหยุดขาดทุน

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

เมื่อเทรดเดอร์ใส่รายละเอียดครบตามที่ต้องการแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม 'place' ซึ่งจะดำเนินการคำสั่งเทรดจริง ระดับราคาที่เทรดจะถูกแสดงด้วยเส้นแนวนอนบนกราฟ

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยรูปแบบกราฟ

ในโปรแกรมการวิเคราะห์ทางเทคนิค MetaTrader ซึ่งมีให้บริการฟรีที่ Admirals นั้น จะมีเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคหลากหลายชนิดที่ใช้ในการช่วยระบุรูปแบบกราฟในการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือวาดหรือลากเส้น อาทิเช่น

  • Lines - Horizontal Lines, Trend Lines, Cycle Lines, Angle Lines
  • Channels - Equidistant Channel, Standard Deviation Channel, Regression Channel, Andrew's Pitchfork
  • Gann - Gann Line, Gann Fan, Gann Grid
  • Fibonacci - Fib Retracement, Fib Extensions, Fib Channel, Fib Time Zone, Fib Arc ฯลฯ
  • Elliott Wave - Motive Wave, Corrective Wave
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

ทั้งหมดนี้จะพบได้โดยเลือกเมนู Insert ที่แถบเมนูด้านบน จากนั้นเลือก Objects ลองเรียกเครื่องมือวาดรูปแบบกราฟสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่าง Equidistant Channel ขึ้นมา ซึ่งจะสามารถทำได้ตามรูปภาพที่แสดงด้านล่าง

 

เมื่อเลือกเครื่องมือดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้งานก็เพียงแค่ลากเส้นเชื่อมราคา swing high หรือ swing low เพื่อสร้างรูปแบบ Channel ขึ้นมา ซึ่งสามารถทำได้โดย

  1. คลิกซ้าย
  2. คลิกค้างเอาไว้
  3. ปล่อยคลิกเมื่อลากไปที่บริเวณอื่นของกราฟ

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถใช้เครื่องมือนี้ลากเส้นแสดงรูปแบบ Channel แบบเฉียงขึ้นหรือ Channel แนวราบออกด้านข้างแบบ sideway

Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้

มีการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยรูปแบบกราฟหลาย ๆ ชนิดด้วยกันที่เทรดเดอร์นำไปใช้ บางชนิดก็เหมาะกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค Forex บางชนิดก็เหมาะกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคตลาดหุ้น ซึ่งเราจะกล่าวถึงอย่างละเอียดต่อไปในหัวข้อการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดการเงินประเภทต่าง ๆ

เริ่มต้นเทรดออนไลน์กับโบรกเกอร์ Admirals

คุณพร้อมแล้วใช่หรือไม่ที่จะได้ทดสอบความรู้ Technical Analysis ด้วยการเทรดในตลาด Forex แบบจริงจัง? เราเชื่อว่าเป็นแบบนั้น! แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ คุณควรจะต้องมีการทดสอบก่อนว่า ระบบเทรดของคุณใช้งานได้จริงๆ หรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทดสอบในบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account" ซึ่งทำให้คุณสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ สามารถทดสอบกลยุทธิ์ใหม่ๆ ผ่านการซื้อขายที่เหมือนตลาดจริง และเหมือนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ

คุณจะได้ซื้อขายด้วยราคา Real-Time กำไร-ขาดทุนตามการคำนวณจริงๆ เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง ดังนั้น Demo Account ก็เปรียบเสมือนห้องเรียนที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!

การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:

สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
  • การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
  • ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
  • ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
  • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้
TOP ARTICLES
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน: Fundamental Analysis คืออะไร?
ในโลกของการลงทุนในตลาดการเงิน 'ความรู้คืออาวุธ' ยิ่งถ้าเป็นความรู้เรื่องการวิเคราะห์ "ข้อมูลเชิงคุณภาพ" ที่สามารถระบุถึงอนาคต ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้นๆ ข้อมูลที่ลึกซึ้งและไม่สามารถวัดได้จาก "ราคา" เพียงอย่างเดียว ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากข้อมูลเชิงคุณ...
รู้จักและเข้าใจปฏิทินเศรษฐกิจ | ปฏิทิน Forex พร้อมส่องวิธีใช้งาน
ปฏิทินเศรษฐกิจ เครื่องมือสำคัญที่ทั้งเทรดเดอร์และนักลงทุนใช้ติดตามความผันในตลาดหุ้นและตลาด Forex หรือปัจจัยทางเทคนิคของตลาดและปัจจัยพื้นฐาน และปฏิทิน Forex ของ Admirals ก็จะช่วยให้คุณสามารถติดตามปฏิทินเศรษฐกิจได้แบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบปัจจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงทิศทางของ...
ดูทั้งหมด